กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11758
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of potential and competitiveness of the thai silk industry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุลาวัลย์ คุณยศยิ่ง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ผ้าไหมไทย
อุตสาหกรรมผ้าไหม--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาวะทั่วไปเกี่ยวกับการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย 2) ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมผ้าไหมไทยกับประเทศคู่แข่งขันในตลาดโลกและในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และ3) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย 4) ศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมผ้าไหมไทยในตลาดโลก ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตผ้าไหมและกำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยปีละ 59,138.61 และ 139,512.2 พันเมตร ตามลำดับ มีการนำเข้าและส่งออกผ้าทอทำด้วยขี้ไหม เฉลี่ยปีละ 7.57 และ 5.66 พันกิโลกรัม ตามลำดับ ผ้าอื่นๆ ที่มีไหมหรือเศษไหมตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไปโดยน้ำหนัก มีการนำเข้าและส่งออกปีละ 39.95 และ 107.60 พันกิโลกรัม ตามลำดับ และผ้าอื่นๆ ที่มีไหมหรือเศษไหมน้อยกว่าร้อยละ 85 โดยน้ำหนัก มีการนำเข้าและส่งออกปีละ 17.84 และ 72.64 พันกิโลกรัม ตามลำดับ 2) ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาดสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสสำหรับการส่งออกผ้าทอทั้ง 3 ชนิด ในตลาดสหรัฐอเมริกาสำหรับการส่งออกผ้าทอทำด้วยขี้ไหมและผ้าอื่นๆ ที่มีไหมหรือเศษไหมตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไปโดยน้ำหนัก ในตลาดโลกสำหรับส่งออกผ้าทอทำด้วยขี้ไหม ส่วนตลาดฮ่องกงไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในผ้าทอทั้ง 3 ชนิด 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกผ้าไหมไทยในตลาดโลกเป็นผลจากการกระจายตลาดและผลจากการขยายตัวการส่งออกของโลกโดยเฉลี่ย ตามลำดับ และในตลาดส่งออกสำคัญเป็นผลจากการขยายตัวการส่งออกของโลกโดยเฉลี่ย ความสามารถในการแข่งขัน และส่วนประกอบของสินค้าตามลำดับ 4) อุตสาหกรรมผ้าไหมไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกเนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนในด้านปัจจัยการผลิต อุปสงค์ต่อธุรกิจ อุตสาหกรรมสนับสนุนและเกี่ยวเนื่อง และนโยบายรัฐบาลที่เข้มแข็ง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11758
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141041.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons