กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1175
ชื่อเรื่อง: การบริหารและการบริการของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Administration and services of secondary school libraries under the Office of Udornthani Educational Area Zone 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทัศนา หาญพล
เพลินพิศ โคตรทองหลาง, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์
วิลัย สตงคุณห์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ห้องสมุดโรงเรียน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารและบริการของห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ถึง มัธยมศึกษาปี ที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2 ปี การศึกษา 2553 จำนวน 647 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหาร ครู มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารและบริการของห้องสมุดโรงเรียนแตกต่างกัน โดยผู้บริหารมีความเห็นอยู่ ในระดับปานกลาง ส่วนความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทั้งผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นระดับมากตรงกัน 2 ข้อ คือ การวางแผนและนโยบาย และบุคลากร เมื่อวิเคราะห์ทั้ง 7 ด้าน โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง แต่มีระดับมากในทุกด้าน คือนโยบายส่งเสริมการอ่าน การพัฒนาเทคโนโลยีและการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ความมีจิตบริการ การให้ความเสมอภาคในการให้บริการบรรณารักษศาสตร์ผ่านการอบรมด้านห้องสมุด ที่ตั้งของห้องสมุดมีความเหมาะสมแสงสว่างเพียงพอในการอ่านหนังสือ มีอุณหภูมิและการถ่ายเทของอากาศเหมาะสม หนังสือพิมพ์ มีจำนวนเพียงพอต่อการให้บริการและมีทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายประเภทให้บริการ มีบริการจองใช้ห้องสมุด และมีบริการยืม-คืนหนังสือทั่วไป สะดวกรวดเร็ว ความคิดเห็นของนักเรียนโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อทั้ง 5 ด้าน พบว่า มีระดับมาก ดังนี้ บุคคลากรมีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี ห้องสมุดมีปริมาณพื้นที่เพียงพอต่อการให้บริการการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกดึงดูดความสนใจให้เข้าใช้บริการ และที่ตั้งของห้องสมุดมีความเหมาะสม ทรัพยากรสารสนเทศอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งานและหนังสือพิมพ์ มีจำนวนเพียงพอ ด้านบริการอยู่ในระดับน้อย 2 ข้อ คือ การให้บริการในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสคูลเน็ตมีประสิทธิภาพและผู้ใช้ได้รับคำตอบถูกต้อง (2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ครูแต่ละกลุ่มสาระวิชามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จำนวน 5 ด้าน คือด้านด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการบริการ ครูกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมแล้วแตกต่างจากครูกลุ่มสาระวิชาอื่น ๆ (3) ผลการเปรียบเทียบ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ ด้านงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 มีความคิดเห็นแตกต่างจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ทุกด้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1175
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (8).pdfเอกสารฉบับเต็ม14.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons