กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11760
ชื่อเรื่อง: ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งในผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Willingness to pay for tiger conservation in Dong Phayayen-Khaoyai forest complex
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพ็ญพร เจนการกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภสุข ประดับศุข, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: เสือ--ไทย
การอนุรักษ์สัตว์ป่า
ป่าดงพญาเย็น
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งในผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่โดยใช้วิธีสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินมูลค่า และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งในผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนที่ถูกสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ยินดีจ่ายที่ 100 บาท/ปี ความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยที่คำนวณโดยวิธีพาราเมตริกซ์คือ 341.86 บาท/ปี ซึ่งประเมินเป็นมูลค่าที่สามารถระดมทุนในกรุงเทพได้ 127.23-434.94 ล้านบาท/ปี ประชาชนกลุ่มออนไลน์ส่วนใหญ่ยินดีจ่าย 200 บาท/ปี ติดต่อกัน 5 ปี ความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ย ซึ่งคำนวณโดยวิธีพาราเมตริกซ์คือ 452.25 บาท/ปี 2) คนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 89.6-94.3) เชื่อว่าเสือโคร่งมีภัยคุกคามแต่ให้ความสำคัญกับการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าเป็นอับดับห้า ซึ่งร้อยละ 29.2-30.1 ของผู้ที่ยินดีสนับสนุนโครงการอนุรักษ์เสือโคร่งในป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่แห็นว่าเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศป่า ใน ขณะที่ร้อยละ 35.3-47.4 ของผู้ไม่ยินดีสนับสนุนโครงการฯ คิดว่าควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องจัดการงบประมาณให้เหมาะสม สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 คือ รายได้และราคาที่สอบถามความเต็มใจที่จะจ่าย เครื่องหมายของค่าสัมประสิทธิ์ที่ได้แสดงว่าการสนับสนุนโครงการจะสูงขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้ตอบ และมีแนวโน้มที่จะลดลงหากราคาที่สอบถามมีค่าสูงขึ้น ผลจากภาคสนามยังพบว่าที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผู้ที่การศึกษาสูงมีแนวโน้มที่จะจ่ายสนับสนุนโครงการมากกว่าผู้ที่การศึกษาน้อย ผลจากแบบสอบถามออนไลน์พบว่าผู้ที่อายุมากมีแนวโน้มที่จะจ่ายมากกว่าผู้ตอบที่อายุน้อย และผู้เป็นโสดมีแนวโน้มจะจ่ายสูงกว่าผู้ที่สมรสแล้ว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11760
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141043.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons