กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11762
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของกลไกลการส่งผ่านของนโยบายการเงินต่อภาวะเงินเฟ้อของประเทศไทยภายหลังการใช้นโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The impacts of monetary policy transmission on inflation in Thailand after the implementation of inflation targeting policy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ
สุชัญญาพัชร คำเกิด, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุนีย์ ศีลพิพัฒน์
คำสำคัญ: เงินเฟ้อ--ไทย
นโยบายการเงิน--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษากลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินของประเทศไทย 2) ศึกษาผลกระทบของกลไกการส่งผ่านของนโยบายการเงินต่อภาวะเงินเฟ้อของประเทศไทยภายหลังการใช้นโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ และ 3) เปรียบเทียบความสำคัญของแต่ละช่องทางในการส่งผ่านนโยบายการเงินไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินของประเทศไทยโดยทั่วไปมี 5 ช่องทาง คือ ช่องทางอัตราดอกเบี้ย ช่องทางอัตราแลกเปลี่ยน ช่องทางราคาสินทรัพย์ ช่องทาง สินเชื่อ และช่องทางการคาดการณ์ 2) การทดสอบคุณสมบัติความนึ่ง พบว่าข้อมูลส่วนใหญ่มีความนึ่งที่ผลต่างลำดับที่ 1 หรือ I(1) ส่วนการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว พบว่าตัวแปรทั้งหมดมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 3) การเปรียบเทียบความสำคัญแต่ละช่องทางโดยการทดสอบปฏิกิริยาการตอบสนองต่อความแปรปรวน พบว่าผลกระทบของกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินต่อเงินเฟ้อสูงสุด คือ ช่องทางอัตราแลกเปลี่ยน ช่องทางราคาสินทรัพย์ ช่องทางอัตราดอกเบี้ยและช่องทางสินเชื่อ ตามลำดับ 4) การวิเคราะห์โดยแยกส่วนประกอบของความแปรปรวนเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อเงินเฟ้อ พบว่าช่องทางราคาสินทรัพย์มีผล มากที่สุด ตามด้วย ช่องทางอัตราแลกเปลี่ยน ช่องทางสินเชื่อ และช่องทางอัตราดอกเบี้ย ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11762
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142737.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons