กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11766
ชื่อเรื่อง: | ต้นทุน ผลตอบแทนและประสิทธิภาพการผลิตกาแฟโรบัสต้าในจังหวัดชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Cost, return and production efficiency of robusta coffee in Chumphon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรรฆย์คณา แย้มนวล อภิญญา หวังยีเส็น, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รัฐวิชญญ์ จิวสวัสดิ์ |
คำสำคัญ: | กาแฟ--การผลิต กาแฟ--ต้นทุนการผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตกาแฟโรบัสต้า 2) ประสิทธิภาพทางเทคนิคในการผลิตกาแฟโรบัสต้า และ 3) ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในการผลิตกาแฟ โรบัสต้า ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มกาแฟ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 5,805.69 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 4,477.53 บาท/ไร่ ส่วนเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มกาแฟมีต้นทุนจากการผลิตเฉลี่ย 5,394.61 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 4,984.08 บาท/ไร่ 2) ประสิทธิภาพทางเทคนิคในการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดกรณีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มกาแฟคือ วันงานในการเก็บเกี่ยว รองลงมาคือปริมาณปุ๋ยเคมี โดยมีค่าผลิตภาพหน่วยสุดท้าย เท่ากับ 25.733 และ 0.399 ตามลำดับ ส่วนกรณีเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มกาแฟ วันงานในการเก็บเกี่ยวมีประสิทธิภาพทางเทคนิคมากที่สุด รองลงมา ปริมาณปุ๋ยเคมีโดยมีค่าผลิตภาพหน่วยสุดท้าย เท่ากับ 27.869 และ 0.677 ตามลำดับ 3) ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในการผลิตกรณีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มกาแฟ วันงานในการเก็บเกี่ยวและปริมาณปุ๋ยเคมี มีค่าสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตหน่วยสุดท้ายต่อราคาปัจจัยการผลิตเท่ากับ 3.515 และ 1.408 ตามลำดับ จึงควรเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตดังกล่าว และมีค่าสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตหน่วยสุดท้ายต่อราคาปัจจัยการผลิตของสารเคมีป้องกันและกำจัดวัชพืช และวันงานในการดูแลรักษา เท่ากับ -85.053 และ -6.081 ตามลำดับ จึงควรลดปัจจัยการผลิต ดังกล่าว ส่วนกรณีเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มกาแฟ วันงานในการเก็บเกี่ยวและปริมาณปุ๋ยเคมี มีค่าสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตหน่วนสุดท้ายต่อราคาปัจจัยการผลิต เท่ากับ 3.531 และ 2.294 ตามลำดับ จึงควรเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตดังกล่าว และมีค่าสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตหน่วยสุดท้ายต่อราคาปัจจัยการผลิตของสารเคมีป้องกันและกำจัดวัชพืช และวันงานในการดูแลรักษา เท่ากับ -30.076 และ -3.966 ตามลำดับ จึงควรลดการใช้ปัจจัยการผลิตดังกล่าว |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11766 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
145416.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License