Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11778
Title: การประเมินระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทย
Other Titles: The evaluation on Thailand's retriement saving system
Authors: มนูญ โต๊ะยามา
จีรเดช ภานุรัตนะ, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุชาดา ตั้งทางธรรม
ปราโมทย์ ศุภปัญญา
Keywords: การประหยัดและการออม--ไทย
ผู้เกษียณอายุ--การเงินส่วนบุคคล--ไทย
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย และ 2) ประเมินระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทยด้านความครอบคลุมประชากร ความเพียงพอของรายได้ และความยั่งยืนทางการคลัง ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศมีลักษณะของการออมที่ประกอบด้วย การจ่ายเบี้ยยังชีพสำหรับบุคคลทั่วไป การออมภาคบังคับรูปแบบการประกันสังคมและกองทุนบำเหน็จบำนาญ และการออมโดยความสมัครใจผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนอื่นที่มีค่าตอบแทนผ่านสถาบันการเงิน โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ คือ สวัสดิการชราภาพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการประกันชีวิต 2) การประเมินระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ ด้านครอบคลุมมีความครอบคลุมประชากรวัยแรงงานทั้งหมด แต่มีปัญหาด้านความเพียงพอของรายได้ที่ประชากรบางกลุ่มซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้ภายหลังเกษียณอายุไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐาน และจะมีปัญหาความไม่ยั่งยืนทางด้านการคลังเนื่องจากเป็นภาระต่องบประมาณที่เพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกปี สาเหตุจากประชากรเข้าสู่ผู้สูงวัยมากขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่องบลงทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปัญหาการจัดทำงบประมาณแบบสมดุลในอนาคต
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11778
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153722.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons