Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11788
Title: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต : ศึกษากรณีการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน
Other Titles: Problems regarding the enforcement of the organic law on counter corruption : a study of assets and liabilities inspection
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช
สุนิสา ลักษณะชู, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง--ไทย--การป้องกัน
นักการเมือง--การแสดงทรัพย์สิน
ข้าราชการ--การแสดงทรัพย์สิน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน --การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาของการยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ศึกษาสภาพบังคับใช้กฎหมายในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของการ บังคับใช้กฎหมายในการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เพื่อหาแนวทางในการแกไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินให้มีประสิทธิภาพมากยิงขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจาก ตำรา หรือเอกสารวิชาการ บทความ รายงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกบแนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย รวมทั้งสภาพปัญหาที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไม่มีประสิทธิภาพ และไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างแท้จริง ผลการศึกษาพบว่า การบังคับใช้กฎหมายในการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างแท้จริง เนื่องจากข้อจำกัดและช่องวางของกฎหมายที่กำหนดให้ต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งระเบียบและหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงไม่แสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สินที่ได้มาในระหว่างดำรงตำแหน่ง การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินโดยแสดงเอกสารประกอบ เฉพาะ ณ วันที่มีหน้าที่ยื่นบัญชี ทำให้เกิดการตบแต่งบัญชีก่อนนำมายื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนดรวมทั้งขาดความรู้ความเข้าใจในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของภรรยาที่อยู่กินกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนหย่าก่อนเข้ารับตำแหน่งหรือหลังเข้ารับตำแหน่ง กำหนดให้แสดงเอกสารประกอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และกำหนดให้การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ถือเป็นเงื่อนไขแห่งความสมบูรณ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อป้องกันการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในการยื่นบัญชีและการตรวจสอบบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถตรวจสอบได้จริงตรงตามเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11788
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156063.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons