กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11805
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมไมโครซอฟท์แอคเซสเพื่อการตรวจความปลอดภัย กรณีศึกษาโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of Microsoft Access Program for safety inspection : a case study in ready mixed concrete plants
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรศักดิ์ สารสิทธิ์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมคอนกรีตผสมเสร็จ--มาตรการความปลอดภัย
ไมโครซอฟต์แอ็กเซส
การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับ การตรวจความปลอดภัยในโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ และ 2) เพื่อศึกษาการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลและรายงานผลการตรวจความปลอดภัย การพัฒนาต้นแบบชื้นงานได้นำโปรแกรมไมโครซอฟท์แอคเซสมาใช้ในการตรวจ ความปลอดภัย โดยออกแบบตามคู่มือมาตรฐานการกำกับดูแลโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จของกรม โรงงานอุตสาหกรรม (2549) ซึ่งมีรายการตรวจสอบรวม 36 ข้อ แบ่งเป็นมาตรการมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม 14 ข้อ และมาตรการส่งเสริมความความปลอดภัย จำนวน 22 ข้อ จากนั้นได้นำโปรแกรมตรวจความ ปลอดภัยที่พัฒนาขึ้นไปให้หัวหน้าโรงงานแต่ละสาขาเป็นผู้ทดลองใช้ จำนวนทั้งหมด 29 โรงงาน และ รวบรวมข้อมูลที่ได้มาประมวลผลเพื่อสืบค้นปัญหาของโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ ผลการศึกษา สรุปได้ว่า 1) สามารถพัฒนาโปรแกรมต้นแบบชิ้นงานในการตรวจ ความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ต้องการสำหรับผู้ใช้งานอย่างมากโดยผลการประเมิน ความพึงพอใจการใช้โปรแกรมต้นแบบชื้นงานมีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.36 คะแนน และ 2) เมื่อพิจารณา คะแนนจากผลการตรวจความปลอดภัย สามารถแยกกลุ่มโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จทั้ง 29 โรงงาน ได้ดังนี้ กลุ่ม A หมายถึง โรงงานที่ได้คะแนนตั้งแต่ 76 คะแนนขึ้นไป มี 9 โรงงาน ในกลุ่มนี้พบว่า มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมยังมีคะแนนน้อยกว่ามาตรการด้านความปลอดภัย กลุ่ม B หมายถึง โรงงาน ที่ได้คะแนนระหว่าง 50-75 คะแนนมี 19 โรงงาน ในกลุ่มนี้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรการ ด้านความปลอดภัยมีคะแนนเฉลี่ยในเกณฑ์ใกล้เคียงกัน กลุ่ม C หมายถึง โรงงานที่ได้คะแนนระหว่าง 25-49 คะแนน มีจำนวน 1 โรงงาน จากผลการทดลองใช้โปรแกรมต้นแบบชื้นงานในการตรวจความ ปลอดภัยดังกล่าว พบว่า สามารถนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการ วางแผนพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มโรงงานได้มากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11805
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156603.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons