กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11809
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาไปปฏิบัติของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Selected administrative factors affecting the implementation of the policy on creating opportunities, equity and equality in education of schools under the Office of the Basic Education Commission, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุลชลี จงเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันติชูชัย ชำนาญ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ความเสมอภาคทางการศึกษา--ไทย
โรงเรียน--การบริหาร
การศึกษากับรัฐ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาไปปฏิบัติของสถานศึกษา 2) สภาพการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาไปปฏิบัติของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาไปปฏิบัติกับสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาไปปฏิบัติของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านผู้นำองค์การ ด้านวัตถุประสงค์และเป้าหมายของนโยบาย ด้านข้อความนโยบาย ด้านการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล และด้านการสนับสนุนทรัพยากร 2) สภาพการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาไปปฏิบัติของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับ ดังนี้ การกำหนดแผนงานโครงการและกิจกรรมตามนโยบาย การกำหนดภารกิจและการมอบหมายงานตามนโยบาย การกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผลนโยบาย การกำหนดและจัดสรรทรัพยากรตามนโยบาย และการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามนโยบาย 3) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ และสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ด้านการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผลด้านผู้นำองค์การ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร และด้านข้อความนโยบาย ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษาได้ร้อยละ 64.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11809
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons