Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11817
Title: | การรับรู้ภาพลักษณ์ของหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Perceptions of Bangkok City Library image |
Authors: | มาลี ล้ำสกุล วรดนู เผือกเวช, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ |
Keywords: | ภาพลักษณ์องค์การ การรับรู้ ห้องสมุด |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับรู้ภาพลักษณ์ของหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครของผู้ใช้บริการ (2) เปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครของผู้ใช้บริการชาวไทยและชาวต่างชาติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็ นสมาชิกและไม่เป็น สมาชิกหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร 4 กลุ่ม รวมจ านวน 310 คน ได้แก่1) นักเรียน/นักศึกษา 2)ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ 3) พนักงานเอกชนและธุรกิจส่วนตัว 4)อื่นๆ เช่น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติซึ่งได้จากการสุ่มตัวอยางแบบเจาะจง ่ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้ภาพลักษณ์หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านสถานที่ 2) ด้านทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ 3) ด้านการบริการ 4) ด้านผู้ให้บริการ 5) ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 6) ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ โดยรวมมีการรับรู้ภาพลักษณ์อยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครของผู้ใช้บริการชาวไทยและชาวต่างชาติ พบว่า ผู้ใช้บริการชาวไทยและชาวต่างชาติมีการรับรู้ภาพลักษณ์หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครด้านสถานที่ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านการบริการ และด้านผู้ให้บริการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และผู้ใช้บริการชาวไทยและชาวต่างชาติมีการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก และด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11817 |
Appears in Collections: | Arts-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License