กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11826
ชื่อเรื่อง: การจัดการความขัดแย้งจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ในพื้นที่ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Conflict management from biomass power plant project in Sikio Sub-district, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนศักดิ์ สายจำปา
พงษ์ศักดิ์ บำรุงกิจ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารความขัดแย้ง
โรงไฟฟ้าชีวมวล
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี.
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง การจัดการความขัดแย้งจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพัฒนาการของความขัดแย้งที่เกิดจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (2) ศึกษากลไกในการจัดการความขัดแย้งจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และ (3) เสนอแนะแนวทางในการจัดการความขัดแย้งที่เหมาะสมต่อปัญหาจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่อื่น ๆ การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเจาะจงจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่รับรู้ มีส่วนเกี่ยวข้อง และติดตามปัญหาความขัดแย้ง กลุ่มประชาชนผู้คัดค้านโครงการ กลุ่มประชาชนที่เป็นกลาง และกลุ่มประชาชนที่สนับสนุนโครงการ จานวน 20 คน จากนั้นนาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) พัฒนาการของความขัดแย้งเริ่มต้นปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมภายหลังการชี้แจงโครงการของผู้ดำเนินโครงการและมีการรับฟังความคิดเห็นเพื่อที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้า โดยการรับฟังความคิดเห็นมีประชาชนเห็นด้วยมากกว่ากลุ่มผู้คัดค้าน จึงทำให้มีการออกมาคัดค้านของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยโดยการเดินขบวน การติดป้ายคัดค้าน การยื่นหนังสือถึงหน่วยงานภาครัฐ และการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ด้วยเหตุผลเรื่องการชี้แจงโครงการที่ไม่ครอบคลุมของผู้ดำเนินโครงการ การรับฟังความคิดเห็นที่ไม่ครอบคลุมในทุกกลุ่ม และความกังวลด้านผลกระทบจากปัญหามลพิษ และผลกระทบต่อวิถีชีวิต โดยในปัจจุบัน (2564) ความขัดแย้งยังคงอยู่ (2) กลไกที่ฝ่ายต่าง ๆ พยายามนำมาใช้ในการจัดการความขัดแย้งมีทั้งกลไกทางกฎหมาย กลไกในการเคลื่อนไหวแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ และการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ (3) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยสำหรับกรณีศึกษานี้พบว่าการพูดคุยทำความเข้าใจและหาข้อตกลงจากทุกฝ่ายน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากจะเป็นการเปิดให้มีการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพื่อนำเสนอความต้องการและเป็นการหาข้อยุติในข้อขัดแย้งต่าง ๆ ขณะที่ข้อเสนอที่สามารถนำไปใช้กับกรณีอื่น ๆ นอกจา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11826
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons