กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11832
ชื่อเรื่อง: | นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 : กรณีศึกษาเปรียบเทียบเขตเลือกตั้งที่ 2 กับเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Policy of state welfare card with the election results of the House of Representatives on 24th March 2019: a comparison of the case study compare in constituency 2 and constituency 3 Phayao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนศักดิ์ สายจำปา พจนา นามพรม, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | รัฐสวัสดิการ การเลือกตั้ง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี. |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ที่มาและการดำเนินนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2) รูปแบบวิธีการ และกลยุทธ์การหาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 2 และ เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดพะเยา และ 3) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ในเขตเลือกตั้งที่ 2 กับเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดพะเยา การศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กันไป ผลการศึกษา พบว่า 1) การดำเนินนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปี 2559 โดยให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จากนั้น เปิดลงทะเบียนอีกรอบ ปี 2560 และ 2561 เพิ่มเติม โดยผู้มีสิทธิ์จะได้รับบัตรสวัสดิการไปใช้ซื้อสินค้าตามวงเงิน 200 หรือ 300 บาทต่อเดือน และมีมาตรการเสริมมาเป็นระยะ เพื่อหวังผลทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะพรรคซึ่งจะเข้ามาสานต่อโครงการประชารัฐของรัฐบาล 2) กลยุทธ์การหาเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 2 และ 3 จังหวัดพะเยา ได้แก่ การหาเสียงแบบเข้าถึงชาวบ้าน การลงพื้นที่ การปราศรัยหาเสียง เครือข่ายหัวคะแนน และเครือข่ายและความสัมพันธ์อื่นๆและ 3) นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคพลังประชารัฐของคนในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 2 และ3 น้อยมาก ปัจจัยหลักสำคัญที่มีส่วนสนับสนุนในการตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ได้รับชัยชนะสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา คือ การมี "ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ กลุ่มการเมือง และกลุ่มอาชีพ" |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11832 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License