กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11840
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับอัญมณีของผู้บริโภคที่เข้าชมงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ วันที่ 10-14 กันยายน 2546 ที่เมืองทองธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of consumers' buying behavior for gems and jewelry in Bangkok Gems & Jewelry Fair September 10-14, 2003 at Mung [i.e. Muang] Thong Thani
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์ม อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุทธศิลป์ เตยะราชกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: เครื่องประดับ--พฤติกรรมผู้บริโภค
อัญมณี--พฤติกรรมผู้บริโภค
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ (3) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานบริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีตำแหน่งต่ำกว่าผู้จัดการแผนก จำนวน 1,250 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณได้กลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติและปัจจัยประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ทั้งในภาพรวมและรายปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานอยู่ ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่่อองค์การมากที่สุดคือ ด้านงานที่ท้าทาย รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ด้านความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ด้านความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน และด้านงานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ส่วนปัจจัยประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การมากที่สุดคือ ด้านความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พักพิงได้รองลงมาคือ ด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การและด้านทัศนคติต่อ เพื่อนร่วมงาน และ (3) พนักงานที่มีเพศ สถานภาพสมรส และอายุแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การ ไม่แตกต่างกันส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนแตกต่างกันมีระดับความผูกพันต่อองค์การแตกแต่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11840
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
94665.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons