Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11848
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพัตรา แผนวิชิตth_TH
dc.contributor.authorธีรภัทร์ ปรีชาพิริยะกุลth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-04-03T08:23:09Z-
dc.date.available2024-04-03T08:23:09Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11848en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การส่งเสริมการขาย การสนับสนุนและการให้ทุนอุปถัมภ์ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยและของต่างประเทศ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยและต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่เหมาะสมกับประเทศไทย งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ หนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย เอกสารประกอบการสัมมนา ตลอดจนคำพิพากษาและคำสั่งศาลฎีกา อีกทั้งกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับ มาตรการเกี่ยวกับมาตรการควบคุมการโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการให้ทุนอุปถัมภ์ ตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหลายมาทำการศึกษา วิเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่จะทำการโฆษณา การสื่อสารการตลาด การส่งเสริมการขาย และการสนับสนุนให้ทุนอุปถัมภ์ที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (2) กฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใช้ในปัจจุบันคือพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ที่ควบคุมการโฆษณาและการทำการสื่อสารการตลาดของผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศที่ใช้การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเทศฝรั่งเศสได้กำหนดเนื้อหาที่สามารถโฆษณาได้ และกำหนดห้ามการสนับสนุนหรือการอุปถัมภ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยสิ้นเชิง ประเทศอังกฤษกำหนดมาตรการการควบคุมการโฆษณา การส่งเสริมการขายและการตลาดแบบตรง และกำหนดคุณสมบัติของนักแสดงที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเทศโปแลนด์ได้มีการกำหนดมาตรการในการควบคุมการโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ ของผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และประเทศออสเตรเลียได้กำหนดมาตรการในการควบคุมการโฆษณาและการสนับสนุนเพื่อประโยชน์ที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (3) มาตรการในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบันยังคงมีปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องการสื่อสารการตลาดส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหาการสนับสนุนให้ทุนอุปถัมภ์ของผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลหน่วยงานต่างๆ หรือการจัดกิจกรรมเพื่อประโยชน์ในการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ (4) เสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ในประเด็นการเสนอให้ยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 32 การกำหนดคำนิยามให้มีความชัดเจนมากขึ้นและกำหนดห้ามทำการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางอ้อมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectกฎหมายสุราth_TH
dc.subjectแอลกอฮอล์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectโฆษณา--เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.--สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.--วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleมาตรการควบคุมการโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการให้ทุนอุปถัมภ์ ตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์th_TH
dc.title.alternativeLegal measures for controlling advertisement, promotion and fundraising under the law on alcohol eeverage controlen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2020.11-
dc.identifier.urlhttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2020.11en_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis thesis aimed (1) to study concepts and theories of controlling advertisement, sales promotion, support and grant for alcoholic beverages, (2) to examine laws related to the control of alcoholic beverage advertisements in Thailand and foreign countries, (3) to investigate problems, obstacles and comparatively analyze laws pertaining to control of alcoholic beverage advertisements in Thailand and foreign countries and (4) to propose guidelines for amending or adding legal provisions related the alcohol beverage control advertisements in accordance with the Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551 (2008), that are suitable for Thailand. This thesis is qualitative research, gathering information from the provisions of the constitution, laws, regulations, stipulations, books, textbooks, academic articles, research studies, seminar supporting documents as well as judgments and orders of the Supreme Court as well as foreign laws related to measures regarding the advertisement, sales promotion, and grant measure control in accordance with the Alcoholic Beverage Control Act. The findings revealed that (1) the concepts of controlling consumption of the alcoholic beverages according to the Constitution of Thailand and the Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551 (2008) regulated rights and duties of the alcoholic beverage manufacturers to provide advertisement, marketing communication, sales promotion and fundraise of grants in relation with alcoholic beverages. (2) Current laws that control the advertisements of alcoholic beverages are the Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551 (2008) and consumer protection law, controlling the advertisements and marketing communications of the alcoholic beverage manufacturers. According to the comparison with foreign law enacted to control alcoholic beverages in France, it determined contents that could be advertised, and totally prohibited supports aimed for alcoholic beverage advertisement or public relation. In England, the laws prescribed a measure to control advertisements, sales promotions and direct marketing and defined qualifications of an actor related to the alcoholic beverages. In Poland, a measure in controlling the advertisements, sales promotions and fundraises for activities of the alcoholic beverage manufacturers was provided. Meanwhile, in Australia, a measure to control the advertisements and supports for benefits connected with the alcoholic beverages was regulated. (3) The measure to control alcoholic beverages at present was problematic in aspects of legal compliance for marketing communication and sales promotion of the alcoholic beverages for commercial benefit, product advertisements with a trademark having the same or similar appearance to a trademark of an alcoholic beverage, and problems of supports and grants of the alcoholic beverage manufacturers for individuals or entities or activities in flavor of advertisement for the alcoholic beverages. (4) Recommended that the Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551 (2008) should be amended for revocation of section 32, clearer definitions and prohibition for indirect alcoholic beverage advertisement.en_US
dc.contributor.coadvisorวรรณวิภา เมืองถ้ำth_TH
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169480.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons