กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11849
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประเภทข้อมูลชีวภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems regarding personal data protection for biometrics
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ ปิติยาศักดิ์
แสงระวี วิปุลาคม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วราภรณ์ วนาพิทักษ์
คำสำคัญ: การบริหารข้อมูลส่วนบุคคล--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
สิทธิส่วนบุคคล--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การป้องกันข้อมูล--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลชีวภาพ และลักษณะทั่วไปของเทคโนโลยีเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลชีวภาพ (2) ศึกษามุมมองที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับข้อมูลชีวภาพตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหราชอาณาจักร (DPA) และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลชีวภาพของรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (BIPA) (3) วิเคราะห์พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เปรียบเทียบกับส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลชีวภาพตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหราชอาณาจักร (DPA) และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลชีวภาพของรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (BIPA) และ (4) เสนอแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลชีวภาพ งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย หนังสือ ตำรา บทความและเอกสารที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประเภทชีวภาพ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด หรือจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า (1) โดยรวมกฎหมายคุ้มครองข้อมูลชีวภาพของไทยสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และแนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลชีวภาพในการให้ความคุ้มครองเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากแต่สามารถปรับปรุงเพื่อให้มีความคุ้มครองข้อมูลชีวภาพที่เหมาะสมมากขึ้นได้ (2) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GDPR ของสหภาพยุโรป และ BPA ของสหราชอาณาจักรนั้นสอดคล้องกันและให้ความคุ้มครองข้อมูลชีวภาพในลักษณะเดียวกัน ทางด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลชีวภาพ BIPA ของรัฐอิลลินอยส์ให้ความคุ้มครองข้อมูลชีวภาพโดยเฉพาะอีกทั้งยังมีการให้คำจำกัดความที่ชัดเจน หากแต่มิได้มีการกำหนดแนวทางในการรักษาความปลอดภัยไว้ สำหรับรัฐอิลลินอยส์ และสหราชอาณาจักรนั้นศาลได้มีคำพิพากษาให้การฟ้องคดีสามารถกระทำได้โดยมิต้องเกิดความเสียหายอันสามารถกำหนดมูลค่าได้ (3) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลชีวภาพของไทยสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลชีวภาพของสหภาพยุโรป และของสหราชอาณาจักร หากแต่มิได้มีการกำหนดแนวทางในการรักษาความปลอดภัยอย่างพอเพียงเพื่อคุ้มครองข้อมูลชีวภาพ และไม่มีการประเมินผลกระทบและความจำเป็นในการเก็บข้อมูลก่อนการประมวลผลข้อมูลชีวภาพ (4) สำหรับแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลชีวภาพของไทย ควรมีการปรับเปลี่ยนคำจำกัดของคำว่า "ข้อมูลชีวภาพ" ให้มีความเหมาะสม อีกทั้งปรับเปลี่ยนการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลชีวภาพให้มีการคุ้มครองข้อมูลชีวภาพโดยยึดหลักมาตรฐานสากลในการรักษาความปลอดภัย และมีการประเมินผลกระทบและความจำเป็นในการเก็บข้อมูลก่อนการประมวลผลข้อมูลชีวภาพ สำหรับการร้องเรียนการละเมิดข้อมูลชีวภาพเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่จำเป็นต้องได้รับความเสียหายหรือความเดือดร้อนอันสามารถกำหนดมูลค่าได้จึงจะสามารถร้องเรียนได้ การลงโทษสำหรับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลประเภทชีวภาพควรกำหนดอัตราโทษทางปกครองโดยกำหนดจำนวนค่าปรับต่อผู้เสียหายหนึ่งราย เพื่อเป็นการป้องปรามให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้มีมาตรการการรักษาความปลอดภัยข้อมูลชีวภาพที่เหมาะสม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11849
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
169478.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons