กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11850
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พุทธศักราช 2535
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problem on the enforcement of the securities and exchange Act B.E.2535 : case study on market price manipulation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จักรกฤษ สีดาน้อย, 2536-, ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: กฎหมายตลาดหลักทรัพย์--ไทย
หลักทรัพย์--ไทย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.--สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.--วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาและหลักแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้นสร้างราคาหลักทรัพย์ (2) ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมการปั่นหุ้นสร้างราคาหลักทรัพย์จากคำพิพากษานำมาพิจารณากับปัญหาทางกฎหมายว่าด้วยการปั่นหุ้นสร้างราคาหลักทรัพย์ (3) ศึกษากฎหมายหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น และเปรียบเทียบกับกฎหมายหลักทรัพย์ไทย (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการปั่นหุ้นสร้างราคาหลักทรัพย์จากสิ่งที่ค้นพบและการบังคับใช้กฎหมายให้เหมาะสมกับบริบทในประเทศไทยต่อไป งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ เอกสารกฎหมาย ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษา ทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) การปั่นหุ้นสร้างราคาหลักทรัพย์สามารถกระทำได้โดยผู้ที่มีความทุจริตในตลาด เพราะกฎหมายไทยในปัจจุบันไม่ครอบคลุมต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้นยากต่อการเอาผิดผู้กระทำความผิด (2) กฎหมายไทยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการปั่นหุ้นสร้างราคาหลักทรัพย์มีลักษณะแนวคิด ทฤษฎีแบบใช้กฎ Rules-Based มากกว่าลักษณะทฤษฎีแบบ Principle-Based ทำให้บทนิยามไม่เพียงพอต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น (3) กฎหมายในต่างประเทศมีลักษณะแตกต่างที่ดีกว่าประเทศไทยทั้งหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย มาตรการเชิงลงโทษ อำนาจหน้าที่ของ ก.ล.ต. และการบังคับใช้กฎหมาย (4) สมควรแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้มีความชัดเจนกำหนดบทนิยามให้ครอบคลุมเพื่อรองรับการกระทำความผิดในปัจจุบัน จึงเสนอแนวทาง ดังนี้ (4.1) นำหลักกฎหมายสหรัฐอเมริกาว่าด้วยลักษณะอำพรางและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย (4.2) นำหลักกฎหมายอังกฤษที่สามารถเอาผิดผู้ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือกระทำความผิดมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย (4.3) นำหลักกฎหมายญี่ปุ่นที่เน้นให้สามารถเอาผิดผู้กระทำความผิดที่อยู่ต่างประเทศมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย (4.4) กำหนดบทนิยามพฤติกรรมให้ครอบคลุมพร้อมแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11850
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
169483.pdfเอกสารฉบับเต็ม38.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons