Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11863
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเตชิต นันยากรสกุล, 2536--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-04-11T07:07:15Z-
dc.date.available2024-04-11T07:07:15Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11863-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับบริการสาธารณะ รวมถึงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (2) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งของประเทศไทยและในต่างประเทศ (3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเปลี่ยนตัวคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเปลี่ยนตัวคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ แล้วจัดทำบทสรุปและข้อเสนอแนะต่อไป จากการศึกษาพบว่า (1) รัฐมีภารกิจหลักในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคม โดยในการจัดทำบริการสาธารณะ รัฐอาจดำเนินการเองหรือมอบหมายให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนด้วยก็ได้ (2) ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดขอบเขตของโครงการที่ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐอันเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะซึ่งเป็นภารกิจของรัฐ และเพื่อมุ่งเน้นการใช้ความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมของเอกชน รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวไปยังหน่วยงานและบุคลากรของภาครัฐ ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้กันทั่วไปในประเทศต่าง ๆ เช่นเดียวกัน (3) การกำหนดและพิจารณาคุณสมบัติของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนและการเปลี่ยนตัวคู่สัญญาในสัญญาร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เป็นลักษณะเชิงกระบวนการ โดยไม่มีปรากฏอย่างชัดเจนในบทบัญญัติของกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการเพิ่มเติมหลักการกำหนดคุณสมบัติของเอกชนคู่สัญญาในสัญญาร่วมลงทุนให้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ของโครงการ เช่น คุณสมบัติด้านเทคนิค การเงิน และประสบการณ์ และเห็นสมควรให้เพิ่มเติมคำนิยามของคำว่า “เอกชนคู่สัญญา” ให้หมายความรวมถึงเอกชนรายอื่นที่ได้เข้ามาเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนในภายหลังไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ แล้วแต่กรณี ซึ่งคู่สัญญารายใหม่ก็จะต้องมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับความเป็นไปได้ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้เบื้องต้นด้วยเช่นกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสัญญาth_TH
dc.subjectการร่วมลงทุนth_TH
dc.subjectพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการกำหนดคุณสมบัติของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562th_TH
dc.title.alternativePre-qualifications of private parties under the public private partnership Act B.E. 2562en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this independent study are (1) to study the concepts, theories and principles related to public services and public-private partnership between the public and private sectors (2) to study the laws related to public-private partnership between the public and private sectors and other relevant laws of Thailand and other countries (3) to study and analyze the legal issues related to the imposing of private parties’ pre-qualifications along with conditions of private parties’ substitution in partnership contracts (4) to suggest solutions to problems concerning the imposing of private parties’ pre-qualifications along with conditions of private parties’ substitution in partnership contracts. This independent study is based on a qualitative research, especially documentary research focusing on legal provisions. Other sources of data are textbooks, academic articles, and researches. The data is then analyzed before a conclusion is reached and recommendations are identified. The results of the study found that (1) the government is responsible for maintaining the public order and providing public services to fulfill the public interest. Regarding public services, the government may conduct such affairs by itself or let private sectors join in as a public-private partnership (2) Thailand has enacted the Public Private Partnership Act B.E. 2562 to specify scopes of public services and infrastructures to be proceeded under such law and also to create the opportunities for the public party to receive knowledge, professionalism and innovation from private parties. The concept of such law has been applied in many countries as well (3) pre-qualifications of private parties and the condition of private parties’ substitution in the Public Private Partnership Act B.E. 2562 are now just merely procedural means, which do not clearly appear in the Act (4) the researcher recommends that there should be a clear description of private parties’ pre-qualifications and conditions of private parties’ substitution in the Project Feasibility Study, such as, technical, financial and experienced proficiency. Besides, there should be an additional definition of the word “private parties” to include the substituted party, who steps in and replace the former private parties, in order to keep such substituted party under the same pre-qualifications as specified in the Project Feasibility Studyen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons