กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11863
ชื่อเรื่อง: | การกำหนดคุณสมบัติของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Pre-qualifications of private parties under the public private partnership Act B.E. 2562 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิริพันธ์ พลรบ เตชิต นันยากรสกุล, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี สัญญา การร่วมลงทุน พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับบริการสาธารณะ รวมถึงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (2) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งของประเทศไทยและในต่างประเทศ (3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเปลี่ยนตัวคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเปลี่ยนตัวคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ แล้วจัดทำบทสรุปและข้อเสนอแนะต่อไป จากการศึกษาพบว่า (1) รัฐมีภารกิจหลักในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคม โดยในการจัดทำบริการสาธารณะ รัฐอาจดำเนินการเองหรือมอบหมายให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนด้วยก็ได้ (2) ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดขอบเขตของโครงการที่ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐอันเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะซึ่งเป็นภารกิจของรัฐ และเพื่อมุ่งเน้นการใช้ความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมของเอกชน รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวไปยังหน่วยงานและบุคลากรของภาครัฐ ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้กันทั่วไปในประเทศต่าง ๆ เช่นเดียวกัน (3) การกำหนดและพิจารณาคุณสมบัติของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนและการเปลี่ยนตัวคู่สัญญาในสัญญาร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เป็นลักษณะเชิงกระบวนการ โดยไม่มีปรากฏอย่างชัดเจนในบทบัญญัติของกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการเพิ่มเติมหลักการกำหนดคุณสมบัติของเอกชนคู่สัญญาในสัญญาร่วมลงทุนให้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ของโครงการ เช่น คุณสมบัติด้านเทคนิค การเงิน และประสบการณ์ และเห็นสมควรให้เพิ่มเติมคำนิยามของคำว่า “เอกชนคู่สัญญา” ให้หมายความรวมถึงเอกชนรายอื่นที่ได้เข้ามาเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนในภายหลังไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ แล้วแต่กรณี ซึ่งคู่สัญญารายใหม่ก็จะต้องมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับความเป็นไปได้ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้เบื้องต้นด้วยเช่นกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11863 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License