Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11866
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | ภีศเดช วงศ์สุริยะรัศมี, 2534- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-04-11T07:29:46Z | - |
dc.date.available | 2024-04-11T07:29:46Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11866 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตร (2) ศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตร (3) ศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตร โดยเป็นการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายประเทศญี่ปุ่น กฎหมายประเทศสิงคโปร์ กฎหมายประเทศลาว และกฎหมายประเทศเวียดนาม (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตรให้มีความรัดกุม มีมาตรฐาน และเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากตำรากฎหมาย บทความวารสาร รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า (1) เหตุผลที่ต้องมีการคุ้มครองแรงงานหญิงมีครรภ์นั้น เพราะว่า เมื่อแรงงานตั้งครรภ์และจะให้กำเนิดบุตร ในช่วงเวลาดังกล่าวต้องได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงเพื่อสุขภาพของตัวแรงงานหญิงและทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงต้องมีกำหนดกฎหมายให้ความคุ้มครองแรงงานหญิงไว้โดยเฉพาะ (2) ประเทศไทยมีการกำหนดวันลาคลอดบุตรของแรงงานหญิงเป็นเวลา 98 วัน ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ (3) ปัญหาและอุปสรรค เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตรนั้น ที่พบคือ ประเทศไทยมีการกำหนดวันลาคลอดบุตรที่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม พบว่า ประเทศไทยยังมีการกำหนดวันลาคลอดบุตรในจำนวนที่ค่อนข้างน้อยและไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และยังไม่มีการกำหนดบทลงโทษกรณีนายจ้างไม่อนุญาตให้แรงงานหญิงลาคลอดบุตร อีกทั้งยังไม่มีการกาหนดช่วงเวลาสาหรับการพักเพื่อให้นมบุตรของแรงงานหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร นอกจากนี้ยังไม่มีการกาหนดให้แรงงานหญิงสามารถเบิกเงินฉุกเฉินสาหรับการคลอดบุตรอีกด้วย (4) เมื่อได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศแล้ว เห็นควรเพิ่มเติม 1) กำหนดวันลาคลอดบุตรของแรงงานหญิงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและบทกำหนดโทษสำหรับกรณีนายจ้างไม่อนุญาตให้แรงงานหญิงลาคลอดบุตร 2) ช่วงเวลาสำหรับการพักเพื่อให้นมบุตรหรือการกักเก็บน้ำนมของแรงงานหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร 3) การเบิกเงินฉุกเฉินสำหรับการคลอดบุตรของแรงงานหญิง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | แรงงานสตรี--กฏหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ | th_TH |
dc.title | การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานหญิงในประเทศไทย : ศึกษากรณีสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 | th_TH |
dc.title.alternative | Law enforcement relating to the protection of female labour in Thailand : a case study of the right of maternity leave under of the labour protection act B.E. 2541 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This independent study aims to (1) study the concepts, theories and general principles concerning the right of women workers on maternity leave (2) study international law foreign law and Thai laws relating to the right of women workers to take maternity leave (3) to comparative study and analysis of problems and obstacles related to the right of women workers to maternity leave by comparative study of international law, Japanese law, Singapore law, Laos Law and Vietnam law (4) to propose an amendment to the Thai laws concerning the right of women workers to take maternity leave to be strict, standardized and appropriate to the current situation. This independent study is a qualitative research based on textbooks, laws, articles, reports, independent studies, thesis, internet data and other related documents. The results of the study found that (1) the reason for the need to protect pregnant women is because when the labor is pregnant and will give birth to a child during this period, adequate rest is required for the health of the laboring woman and the fetus. Therefore, there must be specific law to protect women workers (2) Thailand prescriptive 98 days of maternity leave for female workers in accordance with international law (3) problems and obstacles regarding the protection of women workers on maternity leave, it was found that Thailand has established maternity leave days in accordance with international law. However, when compared to Japanese law, Singapore law, Laos law and Vietnam law found that Thailand also has a relatively lower designation of maternity leave and is not appropriate for the current situation. And there are no penalties in cases where employers do not allow female workers to take maternity leave. There is also no set period for lactation breaks for women who have given birth. There is also no requirement for female workers to withdraw emergency funds for maternity leave (4) after a comparative analysis of international law and foreign law; Additional opinions: 1) determine the date of maternity leave for female workers appropriate to the current situation and penalties for cases where employers do not allow female workers to take maternity leave. 2) period for breastfeeding breaks or storing milk for women workers who have just given birth. 3) emergency reimbursement for childbirth female workers. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License