กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11866
ชื่อเรื่อง: การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานหญิงในประเทศไทย : ศึกษากรณีสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Law enforcement relating to the protection of female labour in Thailand : a case study of the right of maternity leave under of the labour protection act B.E. 2541
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภีศเดช วงศ์สุริยะรัศมี, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
แรงงานสตรี--กฏหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตร (2) ศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตร (3) ศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตร โดยเป็นการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายประเทศญี่ปุ่น กฎหมายประเทศสิงคโปร์ กฎหมายประเทศลาว และกฎหมายประเทศเวียดนาม (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับสิทธิของแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตรให้มีความรัดกุม มีมาตรฐาน และเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากตารำ กฎหมาย บทความวารสาร รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า (1) เหตุผลที่ต้องมีการคุ้มครองแรงงานหญิงมีครรภ์นั้น เพราะว่า เมื่อแรงงานตั้งครรภ์และจะให้กำเนิดบุตร ในช่วงเวลาดังกล่าวต้องได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงเพื่อสุขภาพของตัวแรงงานหญิงและทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงต้องมีกำหนดกฎหมายให้ความคุ้มครองแรงงานหญิงไว้โดยเฉพาะ (2) ประเทศไทยมีการกำหนดวันลาคลอดบุตรของแรงงานหญิงเป็นเวลา 98 วัน ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ (3) ปัญหาและอุปสรรค เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานหญิงในการลาคลอดบุตรนั้น ที่พบคือ ประเทศไทยมีการกำหนดวันลาคลอดบุตรที่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม พบว่า ประเทศไทยยังมีการกำหนดวันลาคลอดบุตรในจำนวนที่ค่อนข้างน้อยและไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และยังไม่มีการกำหนดบทลงโทษกรณีนายจ้างไม่อนุญาตให้แรงงานหญิงลาคลอดบุตร อีกทั้งยังไม่มีการกาหนดช่วงเวลาสาหรับการพักเพื่อให้นมบุตรของแรงงานหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร นอกจากนี้ยังไม่มีการกาหนดให้แรงงานหญิงสามารถเบิกเงินฉุกเฉินสาหรับการคลอดบุตรอีกด้วย (4) เมื่อได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศแล้ว เห็นควรเพิ่มเติม 1) กำหนดวันลาคลอดบุตรของแรงงานหญิงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและบทกำหนดโทษสำหรับกรณีนายจ้างไม่อนุญาตให้แรงงานหญิงลาคลอดบุตร 2) ช่วงเวลาสำหรับการพักเพื่อให้นมบุตรหรือการกักเก็บน้ำนมของแรงงานหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร 3) การเบิกเงินฉุกเฉินสำหรับการคลอดบุตรของแรงงานหญิง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11866
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons