Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11867
Title: ปัญหาการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองในระบบกฎหมายไทย
Other Titles: Problems of appeal against administrative orders in the Thai legal system
Authors: ปราโมชย์ ประจนปัจจนึก, อาจารย์ที่ปรึกษา
รพีพร ตันประภาส, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
อุทธรณ์--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง (2) ศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีและหลักการของกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองในระบบกฎหมายไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส (3) วิเคราะห์ถึงปัญหาและข้อขัดข้องของระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทย (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองให้มีความเหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ตารำ บทความ วารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เอกสารทางวิชาการของหน่วยงานราชการ รวมถึงข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าตามแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง เป็นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองหรือตรวจสอบการใช้อำนาจกระทำการของฝ่ายปกครองซึ่งต้องประกันความเป็นธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อเกิดดุลยภาพประสานประโยชน์ซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฎีและหลักการของระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองในประเทศไทยใช้ระบบการอุทธรณ์แบบบังคับเช่นเดียวกับประเทศเยอรมนี และระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองของประเทศฝรั่งเศสเป็นระบบอุทธรณ์แบบทางเลือก ซึ่งระบบอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทยมีปัญหาและข้อขัดข้องทางกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองที่สั้นเกินไป การทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองและการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองแบบบังคับ ซึ่งประชาชนควรได้รับการเยียวยาไว้ก่อนจะเกิดประโยชน์กว่าหลังจากที่ได้มีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ไปแล้วเพราะอาจเกิดความล่าช้าสร้างภาระเกินความจำเป็นที่จะต้องมาดำเนินการแก้ไขความเสียหายในภายหลังอีกครั้งโดยไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักกฎหมายปกครองที่มุ่งประสานประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้มีความเหมาะสมเกี่ยวกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง โดยกำหนดให้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งทางปกครอง การทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองกรณีคำสั่งทางปกครองปกครองที่เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครองควรให้มีผลทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองไว้ชั่วคราวเสมอและการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองแบบบังคับควรเปลี่ยนเป็นระบบอุทธรณ์แบบทางเลือก เพื่อมุ่งคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนและเกิดความรวดเร็วกว่าระบบอุทธรณ์แบบบังคับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11867
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons