กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11869
ชื่อเรื่อง: | การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายฟอกเงินภายใต้หลักสุจริต : ศึกษาเฉพาะกรณีการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Protection for victims’ rights under Anti-Money Laundering Act B.E. 2542 in good faith requirement: a case study of Loans of Money Amounting to Public Cheating and Fraud |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต สิปปนนท์ เชาวลิต, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้เสียหาย--การคุ้มครอง การฟอกเงิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎี ความเป็นมา และหลักการของการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายฟอกเงินภายใต้หลักสุจริต (2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายฟอกเงินภายใต้หลักสุจริต (3) เปรียบเทียบกฎหมายของไทยและประเทศสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายฟอกเงินภายใต้หลักสุจริต (4) นำผลการศึกษามาใช้ในการแก้ไขปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายฟอกเงินให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง กฎหมาย ประกาศและเอกสารราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายฟอกเงินภายใต้หลักสุจริต จากผลการศึกษาพบว่า (1) การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายฟอกเงินของไทย โดยเฉพาะกรณีการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ยังไม่สอดคล้องกับหลักสุจริตของผู้เสียหายเท่าที่ควร (2) การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายฟอกเงินของไทยยังมีปัญหาในประเด็นการนิยามคำว่า "ผู้เสียหาย" และการบังคับใช้ให้เป็นไปตามคำนิยาม ประเด็นการตรวจสอบและจัดทำความเห็นเกี่ยวกับความเสียหายของผู้เสียหาย และประเด็นเรื่องความคุ้มค่าต่อผลที่จะได้รับในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย (3) การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมายฟอกเงินของไทย ยังมีความแตกต่างกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ประเด็นผู้เสียหายต้องไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด และการพิจารณาถึงความคุ้มค่าก่อนดำเนินการคุ้มครองสิทธิให้แก่ผู้เสียหาย เป็นต้น (4) ข้อเสนอแนะคือการแก้ไขปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2559 ในส่วนของคำนิยามของ "ผู้เสียหาย" ร่วมถึงการบังคับใช้ให้เป็นไปตามคำนิยามอย่างเคร่งครัด และควรมีการกำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาความคุ้มค่าต่อผลที่จะได้รับในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11869 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License