Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1186
Title: การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อคติความเชื่อ พิธีกรรมและวิธีการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนา
Other Titles: Impact of social and cultural changes on rituals belief's and the erection of the Huge Lanna stucco Buddha image
Authors: จิตรา วีรบุรีนนท์
สุชัย สิริรวีกูล, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ศรัทธา (พุทธศาสนา)
ความเชื่อ
พระพุทธรูป--คติชนวิทยา--ไทย (ภาคเหนือ)
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2) คติ ความเชื่อและพิธีกรรมการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (3) กรรมวิธีการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนาทั้งในอดีตและปัจจุบัน (4) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อรูปแบบ พิธีกรรมและวิธีการสร้าง พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนา วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสำรวจชุมชน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ พระสงฆ์ เจ้าภาพในการสร้าง ผู้รู้ด้านการสร้างและประกอบพิธีกรรม ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา รวมทั้งสิ้น 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ในอดีตการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนา มีการสร้างน้อยเป็นการสร้างโดยกษัตริย์ และจะสร้างไว้ในสิ่งมุงบัง ปัจจุบันมีการสร้างมากขึ้น ผู้สร้างมีหลากหลายตั้งแต่กษัตริย์จนถึงประชาชนทั่วไป และจะนิยมสร้างไว้กลางแจ้ง 2) ในอดีต มีคติ ความเชื่อคือเป็นการสร้างเพื่อสืบอายุพระศาสนา และแสดงบารมีธรรมของผู้สร้าง ส่วนในปัจจุบันมีคติ ความเชื่อคล้ายกับในอดีต แต่จะแตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ของการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ส่วนพิธีกรรมการสร้างพระพุทธรูป จะมีทั้งแบบพุทธพราหมณ์ ผี ที่สืบทอดมาจากอดีต ส่วนปัจจุบันจะมีแตกต่างจากอดีตเพียงเล็กน้อย ในแต่ละท้องถิ่นของล้านนา ซึ่งจะเกี่ยวกับความเคร่งครัดของผู้ประกอบพิธีกรรมซึ่งในปัจจุบันจะมีน้อยกว่าในอดีต 3) กรรมวิธีการสร้าง พระพุทธรูปพบว่า รูปแบบวิธีการก่อสร้างและการใช้วัสดุในอดีตและปัจจุบันจะแตกต่างกันมากทั้งวัสดุที่ใช้และเทคนิควิธีการสร้าง 4) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อรูปแบบพิธีกรรม วิธีการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนามีปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านภูมิประเทศ ผู้นำ การศึกษา การสื่อสาร การคมนาคม เทคโนโลยี และการเมือง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1186
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม40.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons