กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1186
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อคติความเชื่อ พิธีกรรมและวิธีการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The impact of social and cultural changes on rituals belief's and the erection of the Huge Lanna stucco Buddha image
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุชัย สิริรวีกูล, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ศรัทธา (พุทธศาสนา)
ความเชื่อ
พระพุทธรูป--คติชนวิทยา--ไทย (ภาคเหนือ)
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้น ขนาดใหญ่ของล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2) คติ ความเชื่อและพิธีกรรมการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาด ใหญ่ของล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (3) กรรมวิธีการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนาทั้งใน อดีตและปัจจุบัน (4) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อรูปแบบ พิธีกรรมและวิธีการสร้าง พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนา วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสำรวจชุมชน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ พระสงฆ์ เจ้าภาพในการสร้าง ผู้รู้ด้านการสร้างและประกอบพิธีกรรม ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา รวมทั้งสิ้น 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ในอดีตการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนา มีการสร้างน้อย เป็นการสร้างโดยกษัตริย์ และจะสร้างไว้ในสิ่งมุงบัง ปัจจุบันมีการสร้างมากขึ้น ผู้สร้างมีหลากหลายตั้งแต่กษัตริย์ จนถึงประชาชนทั่วไป และจะนิยมสร้างไว้กลางแจ้ง 2) ในอดีต มีคติ ความเชื่อคือเป็นการสร้างเพื่อสืบอายุ พระศาสนา และแสดงบารมีธรรมของผู้สร้าง ส่วนในปัจจุบันมีคติ ความเชื่อคล้ายกับในอดีต แต่จะแตกต่างกันที่ วัตถุประสงค์ของการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ส่วนพิธีกรรมการสร้างพระพุทธรูป จะมีทั้ง แบบพุทธ พราหมณ์ ผี ที่สืบทอดมาจากอดีต ส่วนปัจจุบันจะมีแตกต่างจากอดีตเพียงเล็กน้อย ในแต่ละท้องถิ่นของล้านนา ซึ่งจะเกี่ยวกับความเคร่งครัดของผู้ประกอบพิธีกรรมซึ่งในปัจจุบันจะมีน้อยกว่าในอดีต 3) กรรมวิธีการสร้าง พระพุทธรูปพบว่า รูปแบบวิธีการก่อสร้างและการใช้วัสดุในอดีตและปัจจุบันจะแตกต่างกันมากทั้งวัสดุที่ใช้และ เทคนิควิธีการสร้าง 4) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อรูปแบบพิธีกรรม วิธีการสร้าง พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ของล้านนามีปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านภูมิประเทศ ผู้นำ การศึกษา การสื่อสาร การคมนาคม เทคโนโลยี และการเมือง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1186
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม40.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons