กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11892
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ในสายการผลิตเข็มฉีดยาของ บริษัท นิโปร (ประเทศไทย) จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The increase of efficiency in product quality inspection in hypodermic needle process of Nipro (Thailand) Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัคนา กล้าปราบศึก, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: บริษัทนิโปร (ประเทศไทย) จำกัด--การควบคุมคุณภาพ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัดถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสาเหตุที่ทำให้การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในสายการผลิตเข็มฉีดยาด้อยประสิทธิภาพ (2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจสอบคุณภาพ (3) เปรียบเทียบผลการตรวจสอบคุณภาพก่อนและหลังการปรับปรุงการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยศึกษาการตรวจสอบคุณภาพของฝ่ายควบคุมคุณภาพในสายการผลิตเข็มฉีดยา ของบริษัท นิ โปร (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา คือ แผนผังสาเหตุและผล และหลักการวิเคราะห์ด้วยคำถาม "ทำไม ทำไม" ส่วนวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพโดยให้การฝึกอบรมพนักงานและใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพ แผนภูมิการดำเนินงาน รวมทั้งหลักการวิเคราะห์เครื่องมือการปรับปรุงประกอบด้วย การกำจัด การรวมกัน การจัดลำดับใหม่ และการทำให้ง่าย และใช้เครื่องมือการควบคุมกระบวนการด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์ในการเปรียบเทียบการตรวจสอบคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า (1) สาเหตุที่ทำให้การตรวจสอบคุณภาพด้อยประสิทธิภาพ คือ พนักงานและวิธีการตรวจสอบ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาพบว่าพนักงานขาดทักษะ ความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบคุณภาพองค์ประกอบและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์มากที่สุด ส่วนวิธีการตรวจสอบนั้นพบว่ามีขั้นตอนที่ชับซ้อนและหัวข้อการทดสอบที่ช้ำกัน รวมทั้งไม่มีการจัดลำดับในการตรวจสอบ (2) การปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจสอบและติดตามผลอย่างใกล้ชิดพบว่าพนักงานมีความรู้ความเข้าใจวิธี การตรวจสอบและจำแนกผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพได้ ในขณะที่วิธีการตรวจสอบสามารถลดขั้นตอนและรวมขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในการตรวจสอบได้ 4 ขั้นตอน และนำระบบอิเล็กหรอนิกส์ไฟล์มาใช้แทนเอกสารเดิม ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง รวดเร็ว และลดระยะเวลาในการตรวจสอบลงได้ (3) เมื่อเปรียบเทียบผลการการตรวจสอบคุณภพพบว่า สามารถลดระยะเวลาในการตรวจสอบด้วยตาเปล่าลงได้ 12 นาที ล็อต จากเดิมใช้เวลาในการตรวจสอบ 77.5 นาที/ล็อต และระยะเวลาการทดสอบสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ลงได้ 22.3 นาที/ล็อต จากเดิมใช้เวลา 156.5 นาที/ล็อต รวมทั้งสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 50 ล็อต จากเดิม 40 ล็อต นอกจากนี้ ในการตรวจสอบกุณภาพผลิตภัณฑ์ยังช่วยลดข้อร้องเรียกของลูกค้าได้ โดยการตรวจสอบพบผลิตภัณฑ์ที่ด้อยกุณภาพก่อนที่จะถูกส่งออกไปสู่ลูกค้าส่งผลให้จำนวนข้อร้องเรียนของลูกค้าลดลงเหลือ 24 ครั้ง จากเดิม 60 ครั้ง (คิดเป็น 60 เปอร์เซ็นด์)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11892
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145693.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons