กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11897
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสมุทรสงคราม จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Saving behavior of Samut Songkhram Public Health Saving Cooperative Limited’s members |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฐาปนา ฉิ่นไพศาล วราพร ฤทธิ์เดช, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การประหยัดและการออม การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ) ศึกษาพฤติกรรมการออมเงินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสมุทรสงคราม จำกัด 2) ศึกษาด้านความรู้ความเข้าใจในการออมทางด้านปัจยส่วนบุคคลและลักษณะทางเศรษฐกิจครัวเรือน 3) ศึกษาด้านความเชื่อการออมทางด้านปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะทางเศรษฐกิจครัวเรือน 4) ศึกษาด้านพฤติกรรมการออมทางด้านปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะทางเศรษฐกิจครัวเรือน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการศึกษา คือ สมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสมุทรสงคราม จำกัด ที่มาใช้บริการด้านการรับฝากเงิน มีจำนวน 678 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกแบบบังเอิญ จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบคำ t - test. One-way ANOVA และทคสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการ มีพฤติกรรมการออม คือ มีการฝากออมทรัพย์ อย่างสม่ำเสมอ (2) ด้านความรู้ความเข้าใจในการออมทางด้านปัจจัขส่วนบุคลและลักษณะทางเศรษฐกิจครัวเรือน พบว่า สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสมุทรสงคราม จำกัด มีความรู้ความเข้าใจในการออมทรัพย์เป็นอย่างดี การออมทรัพย์เป็นการลดความเสี่ยงทางการเงิน อัตราผลตอบแทนเป็นเหตุผลหลักในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออม (3) ด้านความเชื่อการออมทางด้านปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะทางเศรษฐกิจครัวเรือน คือ เชื่อว่าการออมทรัพย์คือการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ให้กับตนเองและครอบครัว อัตราผลตอบแทนมีความแน่นอนมากกว่าการออมนอกระบบ (4) ด้านพฤติกรรมการออมทางด้านปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะทางเศรษฐกิจครัวเรือน พบว่า เพศ ระดับการศึกษาแตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการออมในด้านความรู้/ความเข้าใจในการออม แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก และจำนวนหุ้นในสหกรณ์แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการออมในด้านความเชื่อการออมแตกต่างกัน ขณะที่สถานภาพ อาชีพแตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการออมแตกต่างกัน อีกทั้งรายจ่าขครัวเรือนรวมต่อเดือนและมีหนี้สินแตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการออมในด้านความเชื่อการออมแตกต่างกันและจำนวนสมาชิกในครัวเรือนแตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการออมทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11897 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159665.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License