Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11900
Title: ผลการใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมองของนักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง
Other Titles: The effects of using a psychological training package for enhancing executive function of Matthayom Suksa II students with aggressive behaviors in a school
Authors: สุขอรุณ วงษ์ทิม
ศุภสวัสดิ์ กาญวิจิต, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิระสุข สุขสวัสดิ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมนิยม (จิตวิทยา)--กิจกรรมการเรียนการสอน
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบหน้าที่การบริหารจัดการสมองของนักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง และ (2) เปรียบเทียบหน้าที่การบริหารจัดการสมองของนักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่ใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมองกับนักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่ไม่ใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่มีคะแนนจากแบบสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าวในระดับมากที่สุดจนถึงระดับปานกลาง จำนวน 16 คน จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เท่ากัน กลุ่มทดลองใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยา จำนวน 11 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที กลุ่มควบคุมดำชีวิตตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบวัดหน้าที่การบริหารจัดการสมอง (2) แบบสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าว และ (3) ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนควอไทล์ การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง นักเรียนมีหน้าที่การบริหารจัดการสมองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ภายหลังการใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง นักเรียนมีหน้าที่การบริหารจัดการสมองสูงขึ้นกว่านักเรียนที่ไม่ใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11900
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons