กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11906
ชื่อเรื่อง: | โควิดภิวัตน์ : การบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา เทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Covidization : the change management of local administrative organizations under the outbreak of coronavirus disease 2019, a case study of Phitsanulok Municipality, Phitsanulok Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา อิศเรศ ศันสนีย์วิทยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา วสันต์ ปวนปันวงศ์, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ เทศบาลนครพิษณุโลก--การบริหาร การบริหารการเปลี่ยนแปลง--ไทย--พิษณุโลก การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020- |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเทศบาลนครพิษณุโลก (2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของของภาคประชาชนต่อแนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงของเทศบาลนครพิษณุโลก ภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (3) นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อเทศบาลนครพิษณุโลกและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ หน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคประชาชน และตัวนักวิชาการด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า (1) เทศบาลนครพิษณุโลกมีแนวทางที่สอดรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงภายใต้โรคระบาดนี้โดยเฉพาะวิสัยทัศน์ของผู้บริหารจนนำไปสู่การลดขั้นตอนและการยืดหยุ่นการทำงานเพื่อประสิทธิภาพที่คล่องตัวของการให้บริการประชาชน (2) การมีส่วนร่วมในฐานะชุมชนในพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลกในการให้ความร่วมมือต่อมาตรการของจังหวัดและเทศบาลนครพิษณุโลก ทั้งนี้รวมถึงการมีส่วนร่วมต่อการปรับตัวของเทศบาลนครพิษณุโลกในแนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงต่อการรับมือกับการระบาด และ (3) เทศบาลนครพิษณุโลก และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ควรจะต้องจัดทำแผนในการรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความไม่ปกติของการทำงาน ซึ่งการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สะท้อนให้เห็นว่าระบบราชการที่เป็นลักษณะของการรวมศูนย์อำนาจก่อให้เกิดความล่าช้าต่อการแก้ไขสถานการณ์และนำไปสู่ข้อจำกัดของงบประมาณ ควรศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นของความเปลี่ยนแปลงของบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในมิติทางด้านสังคมและเศรษฐกิจภายใต้กรอบของแนวคิดโควิดภิวัฒน์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11906 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 29.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License