Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1191
Title: ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม และการอนุรักษ์ควายไทย : กรณีศึกษาชาวนา ตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Belief, tradition, rite and conservation of Thai buffalo : a case study of farmers in the Don Pru Sub-District of the Si Prachan District in Suphan Buri Province
Authors: สรายุทธ ยหะกร
พิสิทธิ์ อุดมผล, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
กระบือ--ไทย
ความเชื่อ--ไทย--สุพรรณบุรี
ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมเกี่ยวกับควายไทย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อด้านความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมเกี่ยวกับควายไทย 3) ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงควายไทย 4) รูปแบบการอนุรักษ์และส่งเสริม ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมและการเลี้ยงควายไทยของชาวนา ตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอยางที่เป็น ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้รู้จำนวน 3 คน ผู้นำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่มีอาชีพทำนา) จำนวน 3 คน นักวิชาการจำนวน 2 คน ชาวนา จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และแบบสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า 1) ควายเป็นสัตว์ใช้แรงงานที่มีความสำคัญ มีประโยชน์และผูกพันกับมนุษย์ในสังคมชาวนาวัฒนธรรมพื้นบ้านจึงมีความพยายามในการเลี้ยงดูควาย และสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้น เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับขวัญของควายที่เป็นมงคลชาวบ้านเชื่อว่าจะนำสิ่งที่ดีมาสู่ผู้เลี้ยง ส่วนขวัญที่ไม่เป็นมงคลชาวบ้านเชื่อว่าเจ้าของจะประสบทุกข์โศกความเชื่อเกี่ยวกับประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ เป็นความเชื่อที่ทำขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณของควายที่เป็นผู้ให้แรงงานและขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลความร่มเย็นเป็นสุขต่อควาย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อประเพณี และพิธีกรรมเกี่ยวกับควายไทย ได้แก่ (1) แนวคิดพื้นฐานทางศาสนา เช่น ศีล 5 ห้ามฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตและคำสอนในพุทธศาสนา เช่น ในบทแผ่เมตตาส่งผลให้เกิดพิธีกรรมสู่ขวัญควายและขอขมาควาย (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่านิยม ประเพณี และพิธีกรรมของสังคมเกษตรกรไทยทุกภาคจะคล้ายคลึงกัน เช่น พิธีกรรมด้านการเพาะปลูกที่จัดขึ้นเพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้มีความอุดมสมบูรณ์ทุกด้านและแตกต่างกัน เช่นภาคอีสานจะมีการผสมผสานความเชื่อเรื่องผีร่วมด้วย 3) ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงควายไทยส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวิธีการทำนาของเกษตรกรที่หันมาใช้เครื่องจักรกล แทนแรงงานควาย ทำให้ไม่ความสนใจในการเลี้ยงดูควาย ปรับปรุงพันธุ์และการป้องกันในการกำจัดโรค 4) รูปแบบการอนุรักษ์และส่งเสริมความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม และการเลี้ยงควายไทยของชาวนาตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีจึงอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตในภาคการเกษตรของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไปตามระบบการผลิตตามแนวคิดเรื่องการปฏิวัติเขียวที่เกิดขึ้นในประเทศตะวันตกซึ่งได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนด รูปแบบแนวทางและเป้าหมายการเกษตรของไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและจิตใจของเกษตรกรไทย ทำให้เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนทำการเกษตรที่สูงขึ้นรวมทั้งสูญเสียวัฒนธรรมอันดีงามและการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในด้านการเกษตรที่เป็นภูมิปัญญาไทย
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1191
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (5).pdfเอกสารฉบับเต็ม20.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons