กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11910
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มประเทศอาเซียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between economic growth and sustainable development index in ASEAN Countries
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพล จตุพร
ภัทร จองถวัลย์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อภิญญา วนเศรษฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
กลุ่มประเทศอาเซียน--ภาวะเศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาวะเศรษฐกิจและตัวชี้วัดความยั่งยืนของกลุ่มประเทศอาเซียน และ (2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มประเทศอาเซียนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมในประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาใช้ข้อมูลอนุกรมเวลาภาคตัดขวางอย่างต่อเนื่องหรือข้อมูลพาแนลของกลุ่มประเทศอาเซียน จำนวน 10 ประเทศ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 – 2560 โดยตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย อัตราการเติบโตของจีดีพีต่อหัว อัตราเงินเฟ้อต่อจีดีพี ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ อัตราการจ้างงานประชากรอายุมากกว่า 15 ปี ต่อประชากรทั้งหมด อายุขัยประชากรเพศชาย อายุขัยประชากรเพศหญิง สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ต่อขนาดพื้นที่ประเทศ ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปริมาณการจับสัตว์น้ำ และวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางเศรษฐมิติ ได้แก่ การตรวจสอบความหยุดนิ่งของข้อมูล การสร้างตัวแบบประมาณค่าพารามิเตอร์ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ตามลำดับ ผลการศึกษาเชิงประจักษ์ (1) อาเซียนได้มีวิวัฒนาการในการรวมกลุ่มเพื่อความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยแสดงเจตนารมณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ตัวชี้วัดความยั่งยืนด้านความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการและอัตราการจ้างงานประชากรอายุมากกว่า 15 ปี ต่อประชากรทั้งหมดมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน ในทางกลับกัน การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มอาเซียนมีผลต่อตัวชี้วัด ความยั่งยืนด้านอายุขัยของประชากรเพศชายและเพศหญิง ข้อเสนอแนะพบว่าอาเซียนควรมีนโยบายการบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้การช่วยเหลือและพัฒนาประเทศสมาชิก รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพแรงงานเพื่อสร้างความได้เปรียบสำหรับการเป็นฐานการผลิตระดับภูมิภาค
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11910
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons