กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11912
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้ภาษีอากรของนิติบุคคลในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the tax arrears of corporate entities in Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิทักษ์ ศรีสุขใส, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนีวรรณ ศรีอุบลมาศ, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การผิดนัดชำระหนี้
การชำระภาษี--ไทย--พิษณุโลก
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทั่วไปของการชำระหนี้ภาษีอากรของนิติบุคคลในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการก่อหนี้นอกระบบของนิติบุคคลในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้นิติบุคคลค้างชำระหนี้ต่อกรมสรรพากรในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ในการศึกษาในครั้งนี้ได้เลือกใช้วิธีเก็บข้อมูลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิติบุคคลที่มีหนี้ภาษีอากรค้างในปี 2559 ในพื้นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่พิษณุโลก จำนวน 194 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารส่วนใหญ่ของนิติบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กิจการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และเปิดดำเนินกิจการมากกว่า 10 ปีขึ้นไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 100,001 ถึง 500,000 บาท นิติบุคคลร้อยละ 25.85 กู้เงินนอกระบบ เพราะกู้ได้ง่ายและเร็วกว่ากู้สถาบันการเงิน 2) ปัจจัยที่ทำให้นิติบุคคลค้างชำระหนี้ภาษีประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.5 ไม่มีความรู้เรื่องภาษีอากร ร้อยละ 49.48 เห็นว่าจำนวนค่าปรับและเงินเพิ่มของกรมสรรพากรมีจำนวนสูงมาก ร้อยละ 25.26 มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อด้านการเงิน ระดับความสำคัญปานกลาง 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการค้างชำระภาษีอากรของนิติบุคคล ได้แก่ หนี้ภาคครัวเรือน ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการมากกว่า 10 ปี และระยะเวลาดำเนินกิจการ 6-10 ปี ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กิจการในกลุ่มบริการ กิจการในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้ทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.1 แต่อัตราดอกเบี้ยส่งผลในทางตรงกันข้ามต่อการค้างชำระหนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ผู้บริหารนิติบุคคลที่เป็นเพศชายมีหนี้ค้างชำระภาษีอากรมากกว่าเพศหญิงเท่ากับ .215 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดนี้สามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของการค้างชำระหนี้ภาษีอากรของนิติบุคลได้ ร้อยละ 30.5
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11912
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons