กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11928
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting safety behaviors for preventing novel coronavirus-2019 infection among personnel in Buriram Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรทิพย์ กีระพงษ์ ชุติมา ดีสวัสดิ์, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิตยา เพ็ญศิรินภา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--วิทยานิพนธ์ การติดเชื้อโคโรนาไวรัส--ไทย--บุรีรัมย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลและบรรยากาศความปลอดภัยจากการติดเชื้อ (2) พฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อ และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและบรรยากาศความปลอดภัยต่อพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ประชากร คือ บุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 2,384 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 388 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามกลุ่มการให้บริการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่มีค่าความเที่ยงด้านบรรยากาศความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อ เท่ากับ 0.93 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า (1) บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 39.04 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 68.7 เป็นพยาบาล ร้อยละ 36.1 ปฏิบัติงานที่แผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มากกว่าร้อยละ 60 มีประสบการณ์ทำงานโรงพยาบาลเฉลี่ย 11.65 ปี ไม่มีประสบการณ์ทำงานควบคุมป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ร้อยละ 60.6 และหน่วยงานมีบรรยากาศความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับสูง (2) บุคลากรมีพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับสูง และ (3) บรรยากาศความปลอดภัยจากการติดเชื้อ และประสบการณ์การทำงานมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงตามลำดับคือ บรรยากาศความปลอดภัยและประสบการณ์การทำงานควบคุมป้องกันการติดเชื้อ (β= 0.67 และ 0.11) โดยสามารถร่วมกันอธิบายได้ร้อยละ 46.9 (R2 = 46.9) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11928 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.83 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License