กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11933
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of conflict management competencies of professional nurses, a community hospital, Surin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวภัทร โลนุช, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
การบริหารความขัดแย้ง
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสุรินทร์ และ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มที่ศึกษาซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่ตอบแบบทดสอบ เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสุรินทร์ ทั้งหมดจำนวน 18 คน และ 2) กลุ่มที่ร่วมสนทนากลุ่ม เป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท ได้แก่ แบบทดสอบสมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพ และแนวทางการสนทนากลุ่ม ซึ่งผ่านการหาความตรงตามเนื้อหาตั้งแต่ 0.80 -1.00 และความเที่ยงของแบบทดสอบฯ เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง จำแนกรายด้านและจำแนกตามโจทย์สถานการณ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน จากการสนทนากลุ่มพบว่า สมรรถนะการจัดการความขัดแย้งจำแนกตามกระบวนการจัดการความขัดแย้ง มีดังนี้ (1) วินิจฉัยความขัดแย้งโดยวิเคราะห์หาสาเหตุของความขัดแย้งได้ 7 ประการ ได้แก่ การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ภาระงานที่ไม่ใช่หน้าที่พยาบาลมากเกินไป การแข่งขันในงานและแย่งชิงทรัพยากร สัมพันธภาพระหว่างบุคคลไม่ดี การพิจารณาความดีความชอบไม่เป็นธรรม ความแตกต่างเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล และการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ (2) นิยามปัญหาความขัดแย้งโดยระบุประเภทของความขัดแย้งเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม และความขัดแย้งภายในตัวบุคคล (3) พิจารณาผลของความขัดแย้ง โดยระบุผลกระทบจากความขัดแย้งได้ทั้งทางบวก 4 ข้อ และทางลบ 3 ข้อ และ 4) กำหนดกลยุทธ์การแก้ไขความขัดแย้ง โดยวิธีการที่ใช้มากที่สุด คือ การหลีกเลี่ยง และวิธีที่ใช้น้อยที่สุด คือ วิธีการยอมตาม และ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพ มี 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านบริบท (2) ปัจจัยด้านทักษะและศักยภาพ และ (3) ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่เน้นการสร้างแรงจูงใจ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11933
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons