กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11935
ชื่อเรื่อง: ผลของการส่งเวรระหว่างพยาบาลห้องฉุกเฉินกับหอผู้ป่วย โดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา ต่อคุณภาพการส่งเวร ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเวรสถาบันโรคทรวงอก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using the ISBAR model for handover of patients between emergency room and in-patient units on shift report quality of in-charge nurses, Central Chest Institute of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกพร แจ่มสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกัญญา สบายสุข, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
การส่งต่อผู้ป่วย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเวร ระหว่างพยาบาลห้องฉุกเฉินกับหอผู้ป่วยโดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา ต่อคุณภาพการส่งเวร ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเวร สถาบันโรคทรวงอก กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเวรอย่างน้อย 1 ปี โดยปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเวรห้องฉุกเฉิน 12 คน และหอผู้ป่วยอายุรกรรมหัวใจ 8 คน รวม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ 1) โปรแกรมการส่งเวรโดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา ประกอบด้วยประกอบด้วย (1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเวรโดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา (2) คู่มือการส่งเวร โดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา (3) กลุ่มสำหรับผู้เข้าอบรมในแอพพลิเคชั่นไลน์ และ 2) แบบประเมินคุณภาพการส่งเวรโดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา ตามการรับรู้ของพยาบาล ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล 7 ข้อ (2) ความถูกต้อง ครบถ้วน ของข้อมูลที่ส่งเวร 25 ข้อ (3) ความสามารถในการนำข้อมูลไปใช้เพื่อให้การพยาบาลต่อเนื่อง 3 ข้อ และ (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 ทดสอบค่าความเที่ยงกับพยาบาลวิชาชีพที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบวิลคอกสันผลการวิจัยพบว่าหลังการส่งเวรโดยใช้รูปแบบ ไอ เอส บา คุณภาพการส่งเวรของพยาบาลหัวหน้าเวรห้องฉุกเฉินไปยังพยาบาลหัวหน้าเวร ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหัวใจสูงกว่าก่อนการใช้ รูปแบบทั้งโดยรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การส่งเวรด้วยรูปแบบ ไอ เอส บา ช่วยเพิ่มคุณภาพการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11935
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons