กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11946
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Accident preventive behaviors from driving motorcycles of Nakhon Si Thammarat Technical College Students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชนีกร โชติชัยสถิตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนิสา จุ้ยม่วงศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงษ์พิศิฏฐ์ ช่วยชู, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์
อุบัติเหตุจากการขับขี่จักรยานยนต์--ไทย--นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ที่มีระดับชั้นที่ศึกษา ที่พักอาศัยและประสบการณ์การขับขี่รถจักรยานยนต์แตกต่างกัน และ (3) ศึกษาแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรเป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราชภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน คือ แบบแบ่งชั้นและระบบง่าย ได้ตัวอย่างจำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและหาค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (2) นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ที่มีระดับชั้นที่ศึกษาต่างกัน พบว่า ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาที่พักอาศัยต่างกัน พบว่า ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และประสบการณ์การขับขี่รถจักรยานยนต์ต่างกัน พบว่า ด้านการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการหล่อหลอม สร้างเสริมคุณภาพชีวิตของนักศึกษา มีพฤติกรรมการขับขี่ให้ประพฤติปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเข้มงวด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.บ.(การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11946
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons