Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11947
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Relationship between family parenting style and emotional intelligence of the first year students of Maejo University in Chiang Mai |
Authors: | สุรพร เสี้ยนสลาย หนึ่งฤทัย อุตรสัก, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บุญเสริม หุตะแพทย์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์ การเลี้ยงดูเด็ก ความฉลาดทางอารมณ์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและความฉลาดทางอารมณ์ของครอบครัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตจังหวัดเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2561 จำนวน 348 คน สุ่มตัวอย่างแบบโควต้าตามสัดส่วนของนักศึกษาของแต่ละคณะ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบวัดการอบรมเลี้ยงดูที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเยาวชนของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2559) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงสถิติ ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยในระดับสูง ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยในระดับปานกลาง และได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันในระดับต่ำ นักศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวมและแต่ละองค์ประกอบ (ดี เก่ง สุข) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่มีองค์ประกอบย่อยด้านความรับผิดชอบที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติ และ (2) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยจากครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวม และแต่ละองค์ประกอบ (ดี เก่ง สุข) ของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ส่วนการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยและการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันจากครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและแต่ละองค์ประกอบ (ดี เก่ง สุข) ของนักศึกษา |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.บ. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11947 |
Appears in Collections: | Hum-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License