กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1194
ชื่อเรื่อง: การใช้และความต้องการสารสนเทศของนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information use and needs of scientists and scholars in nuclear energy and radiation at the Office of Atoms for Peace
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน
ขวัญตา เหลืองมั่นคง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พวา พันธุ์เมฆา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สารสนเทศ--การศึกษาการใช้
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้และความต้องการสารสนเทศของ นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (2) เปรียบเทียบการใช้และความต้องการสารสนเทศของนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติและ (3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศของนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จำนวน 263 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 186 คนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบ สัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบรายคู่ตามวิธีการเชฟเฟ่ ส่วนแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า (1) นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสีสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีการใช้และความต้องการสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่ามีการใช้วารสารนิวเคลียร์ปริทัศน์สูงสุดในระดับมาก รองลงมาคือคู่มือการปฏิบัติงานด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสีนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติมีความต้องการสารสนเทศด้านความปลอดภัยจากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีในระดับมาก (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้านระดับการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) ปัญหาการใช้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความไม่สะดวกในการใช้แหล่งสารสนเทศภายนอก เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ และทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดไม่ตรงตามความต้องการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1194
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (8).pdfเอกสารฉบับเต็ม14.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons