Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11952
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว |
Other Titles: | Factors influencing the prevention and control policy implementation of coronavirus disease 2019 (COVID-19) : a case study in Sa Kaeo Province |
Authors: | กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา วัชร์ชัยนันท์ เหล่าทัศน์, 2538- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ โควิด-19 (โรค)--การป้องกัน--ไทย--สระแก้ว |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปสู่การปฏิบัติ (2) ปัญหาของการนำนโยบายการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปสู่การปฏิบัติ และ (3) ระดับความสำเร็จของการนำนโยบาย การป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปสู่การปฏิบัติ การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากร ได้แก่ ประชาชนและบุคลากรของหน่วยภาครัฐที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 566,303 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 400 คน ซึ่งคำนวณสูตรของทาโร่ยามาเน่ โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 17 คน ซึ่งกำหนดการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ ด้านความชัดเจนและมาตรฐานของนโยบาย ด้านทรัพยากรและงบประมาณของนโยบาย ด้านบุคลากรและความพร้อมของบุคลากร ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ ด้านสมรรถนะของหน่วยงานภาครัฐ ด้านการประสานงานของหน่วยงานภาครัฐ ด้านการสนับสนุน ของอาสาสมัครและชุมชน และด้านสภาพแวดล้อม ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม (2) ปัญหาของการนำนโยบายการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ การขาดแคลนงบประมาณ บุคลากรและทรัพยากรมีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน การไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และควบคุมโรคของประชาชน การเดินทางเข้า – ออกในพื้นที่จังหวัดสระแก้วของประชาชนที่ไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ (3) ระดับความสำเร็จของการนำนโยบายการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปสู่การปฏิบัติ ภาพรวมอยู่ในระดับมากในทุกด้าน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11952 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 34.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License