Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11955
Title: | การจัดการความขัดแย้งในชุมชนกับการสร้างฝายมีชีวิต ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Conflict management in the community and the construction of life dam in Yang Khom Sub-district, Phipun District, Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | ธนศักดิ์ สายจำปา วันเพ็ญ เทวฤทธิ์, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | การบริหารความขัดแย้ง การจัดระเบียบสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาและสาเหตุความขัดแย้งในชุมชนกับการสร้างฝายมีชีวิต ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) แนวทางที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้งในชุมชนกับการสร้างฝายมีชีวิต ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช (3) แนวทางแก้ไขความขัดแย้งที่เหมาะสมกับการสร้างฝายมีชีวิต ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำทางการเมืองผู้นำท้องถิ่นท้องที่ กลุ่มข้าราชการในพื้นที่ และกลุ่มตัวแทนประชาชนในตำบลยางค้อมที่ได้รับผลกระทบ เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและสาเหตุความขัดแย้งในชุมชนกับการสร้างฝายมีชีวิตตำบลยางค้อม เกิดจากการทำประชาคมที่ไม่ทั่วถึงของผู้นำชุมชนในการสร้างฝายมีชีวิต นำไปสู่การต่อต้านของประชาชนด้วยเกรงว่าจะได้รับผลกระทบต่อทรัพย์สิน ส่งผลต่อเศรษฐกิจในชุมชน ความเข้มแข็งทางสังคม การเมืองในท้องถิ่น และเกิดความไม่เป็นธรรมกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่ต้องจำยอมเพื่อไม่ให้มีปัญหากับผู้นำท้องที่และประชาชนที่ผลักดันโครงการ 2) แนวทางที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้งในชุมชนกับการสร้างฝายมีชีวิต มีการจัดเลี้ยงน้ำชาเพื่อเป็นการเชิญชวนชาวบ้านในชุมชน เพื่อสร้างการรับรู้หรือเห็นด้วยในการร่วมกันทำฝายมีชีวิต รวมถึงมีการชี้แจงและกำหนดแนวทางในการแก้ไขผลกระทบจากการสร้างฝาย จนทำให้ประชาชนเกิดการยอมรับและเห็นด้วยกับโครงการเพิ่มมากขึ้น และ 3) แนวทางแก้ไขความขัดแย้งที่เหมาะสมกับการสร้างฝายมีชีวิต ควรสอบถามความต้องการหรือความคิดเห็นของคนในชุมชนในเชิงลึกให้หลากหลายมิติ การมองเฉพาะในมุมที่ได้รับประโยชน์จากการสร้างฝ่ายอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ ผู้นำชุมชนควรหันมารวบรวมความคิด ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11955 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License