กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11959
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของฝ่ายการผลิตบริษัท เอสที อุตสาหกรรม จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the effectiveness in the production department of ST industrial Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบม อาจารย์ที่ปรึกษา
วิไลพร ภูธาตุเพชร, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การควบคุมการผลิต
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
สมรรถภาพในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เอสที อุตสาหกรรม จํากัด (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบัการปฏิบัติงาน กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ ายผลิต บริษัท เอสที อุสาหกรรมจํากัด และ (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพของการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการผลิต บริษัท เอสที อุตสาหกรรม จํากดั การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากร คือ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เอสที อุตสาหกรรม จํากัด จํานวน 1,050 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างคํานวณโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ได้ จํานวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ จํานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เอสที อุตสาหกรรม จํากัด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านลักษณะงานที่รับผิดชอบ อยูในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการในการทํางาน ด้านความสัมพันธ์ในองค์การ ด้านสภาพแวดล้อมในการทํางาน และด้านโอกาสและความกาวหน้าในการทํางานตามลําดับ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบัการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เอสที อุสาหกรรม จํากัดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ตําแหน่งงาน รายได้ ระดับการศึกษา อายุการทํางาน และลักษณะงาน และ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการเสริ มสร้าง ประสิทธิภาพและคุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ ายผลิต บริษัท เอสที อุตสาหกรรม จํากัด คือบริษัทควรมีความยุติธรรมในการพิจารณาการทํางานของพนักงาน และให้พนักงานมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกบการป้องกันอุบัติเหตุ เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานโดยวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11959
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154729.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons