กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11981
ชื่อเรื่อง: การยอมรับการดำเนินงานระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Acceptance of electronic government procurement system operations of supply officer in Lampang Primary Education Service Area Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ
โชติกา จิรฐาธรรม, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ประโยชน์การดำเนินงานระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 2) ระดับการรับรู้ความสะดวกในการใช้งานการดำเนินงานระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 3) ระดับการยอมรับการดำเนินงานระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ประโยชน์ ระดับการรับรู้ความสะดวกในการใช้งานกับการยอมรับการดำเนินงานระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดที่ระดับปริญญาตรี อยู่ในตำแหน่ง ครู มีสถานภาพในการทำงานปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระหว่าง 1 - 5 ปี โดยมี 1) ระดับการรับรู้ประโยชน์การ อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งภาพรวมและรายด้าน 2) ระดับการรับรู้ความสะดวกในการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งภาพรวมและรายด้าน ยกเว้นด้านการต่อรองราคาอยู่ในระดับมาก 3) ระดับการยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งภาพรวมและรายด้าน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ประโยชน์ ระดับการรับรู้ความสะดวกในการใช้งานกับการยอมรับ พบว่า 4.1) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ประโยชน์ ได้แก่ มีประโยชน์ประหยัดเวลา สร้างความคุ้มค่า สร้างความโปร่งใส ช่วยประหยัดงบประมาณได้สินค้าหรือบริการตามความต้องการ และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทุกรายการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการยอมรับการดำเนินงานระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสองด้าน คือ ด้านทัศนคติต่อพฤติกรรม และด้านการยอมรับการดำเนินงานทุกวงเงินงบประมาณและทุกครั้ง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 4.2) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ความสะดวกในการใช้งาน ได้แก่ สามารถลดขั้นตอนการดำเนินงานได้สามารถต่อรองราคาได้ สามารถตรวจสอบได้ สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามวัน เวลา ที่กำหนด สามารถเสนอราคาผ่านระบบได้ และสามารถใช้เอกสารที่พิมพ์จากระบบเสนอเซ็นต์ได้ ทุกรายการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการยอมรับการดำเนินงานระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งสองด้าน คือด้านทัศนคติต่อพฤติกรรม และด้านการยอมรับการดำเนินงานทุกวงเงินงบประมาณและทุกครั้ง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11981
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม44.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons