Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1198
Title: การศึกษาการเลี้ยงดูบุตรโดยลำพังของพ่อในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of child care by single fathers in Bangkok Metropolis
Authors: สรายุทธ ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณนิภา ชูชีพ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
เด็ก--การเลี้ยงดู
การเป็นบิดามารดา
บิดาและบุตร
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาการเป็นพ่อเลี้ยงดูบุตรโดยลําพังและ การดําเนินชีวิต (2) วิธีการเลี้ยงดูบุตรโดยลําพังของผู้เป็นพ่อ (3) ปัญหาของพ่อจากการเลี้ยงดูบุตรโดย ลําพัง (4) ผลกระทบที่บุตรได้รับจากการเลี้ยงดูของพ่อโดยลําพังการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลัก จํานวน 27 ราย ได้แก่ พ่อที่ต้องเลี้ยงดูบุตรโดยลําพัง จํานวน 13 ราย และบุตรจํานวน 14 รายการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาของพ่อเลี้ยงบุตรโดยลําพังในระยะแรกมีปัญหาด้านจิตใจ เศร้าและทุกข์ใจ ขาดที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร และต้องการกําลังใจในการดําเนินชีวิต ส่วนการ ดําเนินชีวิตของพ่อที่เลี้ยงบุตรโดยลําพังนั้น ต้องดูแลบุตรในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น คือตั้งแต่ตื่นนอน อาบน้ํา รับประทานอาหาร ไปรับ ไปส่งที่โรงเรียน สอนการบ้าน เป็นต้น เวลาส่วนใหญ่จะทุ่มเทให้บุตรเป็นหลัก เวลาส่วนตัวของพ่อเป็นช่วงที่บุตรเข้านอนและไปโรงเรียน (2) วิธีการเลี้ยงดูบุตร ใช้หลักเหตุผลร่วมกับ การบังคับ ใช้หลักธรรมะในการขัดเกลาพฤติกรรม และใช้การกําหนดเวลาในการควบคุมความประพฤติ มีปู่ย่า ป้า อา และญาติผู้ใหญ่ช่วยเลี้ยงดูและช่วยวางแผนด้านการศึกษาให้เรียนจบระดับปริญญาตรี ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรพ่อเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าขนมของบุตรให้เป็นรายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน ขึ้นอยู่กับความจําเป็นของบุตร ด้านสวัสดิภาพ พ่อทําประกันชีวิตและประกันสุขภาพไว้ให้บุตร ส่งเสริม การออกกําลังกายและปกป้องการคุกคามจากแม่ (3) ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงดูบุตร ในช่วงวัยเด็กของบุตรทําให้พ่อมีเวลาพักผ่อนน้อย มีความกังวลเรื่องสุขภาพร่างกายของบุตร ช่วงวัยรุ่นพ่อจะเครียดเวลาบุตรไม่เชื่อฟัง ชอบโกหก มีความลับ ติดเพื่อน ทําตัวห่างเหิน มีปัญหาด้านเศรษฐกิจโดยพ่อประสบปัญหามากในช่วงปีพ.ศ. 2540 และปัญหาบุตรมีปฏิกิริยาต่อต้านหากพ่อจะมีครอบครัวใหม่ (4) ผลกระทบที่บุตรได้รับจากการเลี้ยงดูของพ่อโดยลําพังได้แก่ผลกระทบด้านร่างกายในช่วงวัยรุ่นเกี่ยวกับเรื่องการแต่งกายและสรีระของบุตรสาว ด้านจิตใจในช่วงวัยเด็กบุตรมีอาการซึมเศร้า ไม่พูดจา บางครั้งอารมณ์ร้อนเกรียวกราด ในช่วงวัยรุ่นจะเก็บกด ใจน้อย ส่วนในด้านสังคมและการปฏิสัมพันธ์ในวัยเด็กบุตรไม่กล้า แสดงออกเก็บตัวในช่วงวัยรุ่น บุตรสาวมองว่าพ่อเป็นต้นแบบ และมีความเป็นผู้นํา ส่วนบุตรชายเริ่มห่าง เหินพ่อ ติดเพื่อน และมีความคิดเป็นของตัวเอง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1198
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (2).pdfเอกสารฉบับเต็ม23.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons