กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11993
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยด้านการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของผู้โดยสารสายการบินภายในประเทศภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing factors affecting passengers’ travel decision by schedule domestic airlines under the Covid-19 situation |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ราณี อิสิชัยกุล ภควดี ภัคเกษม, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การเดินทางทางอากาศ การท่องเที่ยว--การตลาด การบินพาณิชย์ สายการบิน--การเดินทาง--ไทย--อุปทานและอุปสงค์ สายการบิน--ไทย--การตัดสินใจ โควิด-19 (โรค) โรคติดต่อ--การแพร่ระบาด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยการตลาด และการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของผู้โดยสารสายการบินภายในประเทศภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 (2) เปรียบเทียบการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของผู้โดยสารสายการบินภายในประเทศภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ปัจจัยการตลาดท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศเพื่อการท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ด้านราคา ด้านความสะดวก และด้านการสื่อสารส่วนปัจจัยการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวโดยสายการบินภายในประเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ พฤติกรรมภายหลังการซื้อการตัดสินใจซื้อ และการประเมินผลทางเลือก (2) ผู้โดยสารที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของผู้โดยสารสายการบินภายในประเทศภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยการตลาดด้านค่าใช้จ่าย และด้านความสะดวกสบายส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของผู้โดยสารสายการบินภายในประเทศภายใต้สถานการณ์โควิด-19 คิดเป็นร้อยละ 44.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11993 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License