Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12013
Title: | การจัดรายการของสถานีวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว F.M. 105 MHz |
Other Titles: | Program management of youth and families radio station Thailand F.M. 105 MHz |
Authors: | ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ นฤนาท แข็งขัน, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์ วิทยุ--การจัดรายการ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ผังรายการของสถานีวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว F.M. 105 MHz (2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะการวางผังรายการของสถานีวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว F.M. 105 MHz การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผังรายการสถานีวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว F.M. 105 MHz ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 จนถึงปี 2556 ได้แก่ ผังรายการ ปี 2552-2553, 2554, 2555 และ 2556 จำนวน 4 ผังรายการ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวิเคราะห์ผังรายการ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ผังรายการ ปี 2552-2553 มีจำนวนรายการมากที่สุด คือ 57 รายการ และผังรายการ ปี 2555 มีจำนวนรายการน้อยที่สุด คือ 44 รายการ การจัดรายการประเภทรายการความรู้ มีสัดส่วนที่มากที่สุดในทุกปี การนำเสนอรูปแบบรายการพูดคุยกับผู้ฟัง มีสัดส่วนที่มากที่สุดในทุกปี การนำเสนอเนื้อหารายการเหตุการณ์ที่น่าสนใจในรูปแบบข่าว มีสัดส่วนที่มากที่สุดในปี 2554, 2555 และ 2556 ส่วนเนื้อหารายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีสัดส่วนมากที่สุดในปี 2552-2553 รายการที่ มีความยาว 50 นาที มีสัดส่วนที่มากที่สุดในทุกปี การนำเสนอรายการที่มีวัตถุประสงค์รายการเพื่อให้ ความรู้ทั่วไป มีสัดส่วนที่มากที่สุดในปี 2552-2553, 2554 และ2556 ส่วนการนำเสนอรายการที่มีวัตถุประสงค์รายการเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประจำวัน มีสัดส่วนมากที่สุดในปี 2555 กลุ่มเป้าหมายของรายการเป็นประชาชนทั่วไป มีสัดส่วนมากที่สุดในทุกปี บุคลากรของ สวท. F.M.105 MHz รับผิดชอบผลิตรายการ มีสัดส่วนมากที่สุดในปี 2554, 2555 และ 2556 ส่วนผู้รับผิดชอบที่เป็นหน่วยงานภายนอกร่วมผลิตรายการ มีสัดส่วนที่มากที่สุดในปี 2554 (2) ข้อเสนอแนะการวางผังรายการ จากผลการวิจัย คือ ควรเพิ่มพื้นที่รายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวให้มีมากขึ้น ควรมีรูปแบบรายการที่เหมาะสมกับวัย ของเด็กในแต่ละช่วงอายุโดยเน้นการเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ หรือการแสดงความคิดเห็นในรายการ ควรปรับความยาวรายการให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กซึ่งมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ควรเพิ่มเนื้อหารายการด้านความรู้ที่สำคัญแก่เด็กและเยาวชน ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ ควรสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรในด้านการจัดและผลิตรายการวิทยุเพื่อเด็กให้มากยิ่งขึ้น และควรมีการประเมินคุณภาพรายการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารายการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12013 |
Appears in Collections: | Comm-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
145071.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License