Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12016
Title: | กระบวนการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนทางเลือกแบบผสมผสาน |
Other Titles: | Public relations process of an integrated alternative school |
Authors: | สุภาภรณ์ ศรีดี นุชจรี มียอด, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียน--การประชาสัมพันธ์ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการประชาสัมพันธ์โรงเรียนทางเลือกแบบผสมผสาน (2) ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการประชาสัมพันธ์โรงเรียนทางเลือกแบบผสมผสานและ (3) ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการประชาสัมพันธ์โรงเรียนทางเลือกแบบผสมผสานการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจงโดยกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ควบคุมและดูแลรับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์โดยตรงของโรงเรียนทางเลือกแบบผสมผสาน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (2) กลุ่มผู้ปกครองของโรงเรียนทางเลือกแบบผสมผสาน ใช้การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่า (1)กระบวนการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนทางเลือกแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การวิจัย-รับฟัง2)วางแผน-การตัดสินใจ 3) การสื่อสาร 4) การประเมินผล ซึ่งแต่ละขั้นตอนพบว่าไม่สอดคล้องกับกระบวนการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากข้อมูลการวางแผนเป็นการรับนโยบายหลักจากผู้อำนวยการและตรวจสอบจากผลสะท้อนกลับจากผู้ปกครองแบบไม่เป็นทางการ (2) ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการประชาสัมพันธ์โรงเรียน ได้แก่ 1) ด้านบุคลากรที่มีอัตรากำลังไม่เพียงพอทำให้งานด้านข่าวประชาสัมพันธ์ล่าช้า แนวทางการแก้ไขคือการรณรงค์ให้ครูแต่ละช่วงชั้นเขียนและส่งข่าวให้กับส่วนสื่อสารองค์กร 2) ด้านงบประมาณ ไม่ได้กำหนดงบประมาณไว้อย่างแน่นอนแต่เป็นการพิจารณาตามรายกิจกรรม แนวทางการแก้ไขคือส่วนสื่อสารองค์กรควรนำปฏิทินการศึกษามาใช้ร่วมในการวางแผนประชาสัมพันธ์เพื่อให้คาดการณ์งบประมาณได้ 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ได้แก่ สื่อประชาสัมพันธ์ มีการผลิตสื่อล่าช้า รูปแบบยังไม่ตรงต่อความต้องการ แนวทางการแก้ไขคือการประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการตรวจรูปแบบก่อนที่จะส่งพิมพ์ หรือการหาอุปกรณ์เทคนิคต่างๆที่จะช่วย 4) ด้านการจัดการ คือต้องบริหารภายใต้งบประมาณและด้านบุคลากรที่จำกัด แนวทางการแก้ไขคือต้องทำงานเป็นทีม ต้องมีความร่วมมือร่วมใจ ขณะเดียวกันต้องมีเป้าหมาย สามารถกำหนดให้ทุกฝ่ายปฏิบัติงานตามแผนการที่วางไว้ให้สามารถสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ และมีการแบ่งสัดส่วนความรับผิดชอบต่องานที่เหมาะสม 5) การประสานงานภายในหน่วยงานพบว่าครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่ได้ให้ความสำคัญเต่อการดำเนินประชาสัมพันธ์โรงเรียน แนวทางการแก้ไขคือปรับทัศนคติให้เห็นความสำคัญของงานประชาสัมพันธ์ว่าสามารถลดหน้างานและสนับสนุนงานของตนเองและของช่วงชั้นโดยให้งานประสัมพันธ์โรงเรียนเป็นหน้าที่ของทุกคน (3) ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการประชาสัมพันธ์ พบว่าส่วนสื่อสารองค์กรไม่ได้สำรวจความต้องการของผู้ปกครองภายในโรงเรียนทางเลือกแบบผสมผสาน ข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อและช่องทางต่างๆจึงไม่ตรงต่อความต้องการของผู้ปกครองเท่าที่ควร แนวทางการแก้ไขคือให้รับฟังผู้ปกครองให้มากขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12016 |
Appears in Collections: | Comm-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
130358.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License