กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12020
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการสื่อสารของแผนกการพิมพ์และจัดทำเล่ม กองการภาพและผลิตสื่อ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication development of the printing section, department of pictures and printing media, directorate of civill affairs, Royal Thai Air Force
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ
พงษ์ศักดิ์ เพ็ชรช่อจินดา, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ. กองการภาพและผลิตสื่อ--ระบบสื่อสาร
การสื่อสารในองค์การ
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการสื่อสารของแผนกการพิมพ์และจัดทำเล่ม กองการภาพและผลิตสื่อ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ 2) ปัญหา อุปสรรคของการสื่อสารของแผนกการพิมพ์และจัดทำเล่ม กองการภาพและผลิตสื่อ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศและ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงการสื่อสารของแผนกการพิมพ์และจัดทำเล่ม กองการภาพ และผลิตสื่อ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 28 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสื่อสาร ได้แก่ทิศทางการไหลของข่าวสาร มี 3 ทิศทาง คือ จากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน และในระนาบเดียวกัน แหล่งที่มาของข่าวสาร มาจากผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่ โดยมีเนื้อหาข่าวสาร 4 ประเภท คือ สารปฏิบัติงาน สารธำรงรักษา สารมนุษยสัมพันธ์ และสารนวัตกรรม วิธีการรับรู้ข่าวสาร พบว่ามีการรับรู้ข่าวสารจาก การบอกกล่าวเป็นส่วนใหญ่ กิจกรรมการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการคือการรับประทานอาหารร่วมกัน 2) ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารของแผนกการพิมพ์จัดทำเล่มฯ พบว่า ผู้บังคับบัญชา ขาดกลวิธีในการถ่ายทอดข่าวสาร เนื้อหาข่าวสาร มีความคลุมเครือไม่ครบถ้วน ช่องทางการสื่อสาร มี 2 ช่องทางคือ (1) เสียงตามสายไม่เปิดใช้งาน (2) บอร์ดติดประกาศมีขนาดเล็ก ข่าวสารไม่ทันต่อเหตุการณ์ ตัวหนังสือมีขนาดเล็กเกินไป และบอร์ดติดประกาศตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ อุปสรรคการสื่อสารด้านอื่นๆ พบว่า ไม่มีช่องทางการสื่อสารอ้อนกลับไปหาผู้บังคับบัญชา 3) แนวทางในการพัฒนาการสื่อสารของแผนกการพิมพ์และจัดทำเล่มฯ ตามคำแนะนำของผู้ใต้บังคับบัญชาคือ ด้านผู้บังคับบัญชา ควรพูดให้เสียงดังมากขึ้นหรือใช้เครื่องขยายเสียงช่วย ด้านเนื้อหาสาร ควรเป็นข่าวสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับผู้ได้บังคับบัญชา มีความชัดเจน ครบถ้วน และทันต่อเหตุการณ์ ด้านช่องทางการสื่อสาร ควรเปิดเสียงตามสายเป็นประจำ และบอร์ดติดประกาศควรทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12020
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124143.pdfเอกสารฉบับเต็ม11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons