Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12023
Title: การเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติ ที่มีต่อการโฆษณาก๊าซธรรมชาติ (NGV) ของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
Other Titles: Media exposure, perception and attitude of people in the Chiang Mai Municipality Area towaed the Natural Gas for Vehicles (NGV) advertisment
Authors: ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรณรงค์ พงษ์กลาง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โฆษณา--ก๊าซธรรมชาติ
การสำรวจทัศนคติ
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
การรับรู้
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเปิดรับ (2) การรับรู้ (3) ทัศนคติ (4) ความสัมพันธ์ของการเปิดรับกับการรับรู้ และ(5) ความสัมพันธ์ของการเปิดรับ กับทัศนคติที่มีต่อ การโฆษณาก๊าซธรรมชาติ ของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย โดย วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการโฆษณาก๊าซธรรมชาติ ผ่านช่องทางโทรทัศน์มากที่สุด โดยเฉลี่ย 4 - 6 ครั้งต่อสัปดาห์ (2) กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าก๊าซ ธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด (3) กลุ่ม ตัวอย่างมีทัศนคติต่อการโฆษณาก๊าซธรรมชาติในระดับมาก (4) การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับ การรับรู้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ (5) การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อ การโฆษณาก๊าซธรรมชาติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยที่ช่องทางการเปิดรับข่าวสารจาก โทรทัศน์จะมีผลต่อทัศนคติมากที่สุด รองลงมาคือ ป้ายโฆษณา และหนังสือพิมพ์ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12023
Appears in Collections:Comm-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128443.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons