Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12025
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุษบา สุธีธร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพรอุมา ฉายหิรัญ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-05-24T02:46:04Z-
dc.date.available2024-05-24T02:46:04Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12025-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเปิดรับข่าวสาร (2) การใช้ประโยชน์ (3) ความพึงพอใจ (4) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายใน (5) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายใน ของผู้ปฏิบัติงานสายงานพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติงานสายงานพัฒนาธุรกิจ กฟผ. จำนวน 400 คน โดยวิธีเลือกตัวอย่างแบบโควต้าของพนักงานในแต่ละหน่วยงานของสายงานพัฒนาธุรกิจ ของ กฟผ. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบค่าที การ ทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในของ ผู้ปฏิบัติงานสายงานพัฒนาธุรกิจ กฟผ. ผ่านสื่อจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล และสื่อนิทรรศการ (2) กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์โดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่เปิดรับนโยบาย วิสัยทัศน์ รองลงมาคือ เปิดรับข้อมูลด้านบริการและ ผลิตภัณฑ์ของสายงาน ข่าวความเคลื่อนไหวด้านธุรกิจพลังงานหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง (3) กลุ่มตัวอย่าง มีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายใน ในระดับปานกลาง และเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมีความ น่าเชื่อถือในระดับมากที่สุด (4) ผู้ปฏิบัติงานที่มีตำแหน่งที่แตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (5) ผู้ปฏิบัติงานที่มีเพศ อายุ และตำแหน่งที่แตกต่างกันมีการใช้ ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผู้ปฏิบัติงานที่มี อายุและตำแหน่งที่แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย--การประชาสัมพันธ์th_TH
dc.titleการเปิดรับสื่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในของผู้ปฏิบัติงานสายงานพัฒนาธุรกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeExposure to, utilization of and Satisfaction with internal public relation media of personnel of the Business Development Department of the Electricity Generating Authority of Thailandth_TH
dc.typeOtherth_TH
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the characteristics of the Business Development Department (BDD) of the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) in terms of (1) the exposure to EGAT's internal public relations media; (2) the media utilization; (3) the media satisfaction; (4) the exposure to the media in different demography; and (5) the media utilization in different demography. This is a quantitative study. The questionnaires are given to sample population of 400 employees from different units in BDD. Data is statistically analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's correlation coefficient, t test, f test, and ANOVA. The results show that (1) most samples are exposed to EGAT's internal relations media through e-mail, print media, personal media, and exhibitions. (2) Overall, most of the samples utilize EGAT's internal public relations to stay informed of the organization's policies and visions the most, followed by their department's products and services, events in the power industry, and related news in medium degree. (3) Overall, most of the samples are satisfied with EGAT's internal public relations media in medium degree. Most samples strongly agree that the news and information are credible. (4) There is a statistically significant relationship between samples' work position and their level of exposure to EGAT's internal public relations media. (5) The relationship factors of sex, age, and work position and the utilization of EGAT's internal public relations media is statistically significant. The relationship between age, work position and the satisfactory level to EGAT's internal public relations media are statistically significant.en_US
Appears in Collections:Comm-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148143.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons