กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12025
ชื่อเรื่อง: การเปิดรับสื่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในของผู้ปฏิบัติงานสายงานพัฒนาธุรกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Exposure to, utilization of and Satisfaction with internal public relation media of personnel of the Business Development Department of the Electricity Generating Authority of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุษบา สุธีธร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรอุมา ฉายหิรัญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย--การประชาสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเปิดรับข่าวสาร (2) การใช้ประโยชน์ (3) ความพึงพอใจ (4) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายใน (5) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายใน ของผู้ปฏิบัติงานสายงานพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติงานสายงานพัฒนาธุรกิจ กฟผ. จำนวน 400 คน โดยวิธีเลือกตัวอย่างแบบโควต้าของพนักงานในแต่ละหน่วยงานของสายงานพัฒนาธุรกิจ ของ กฟผ. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบค่าที การ ทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในของ ผู้ปฏิบัติงานสายงานพัฒนาธุรกิจ กฟผ. ผ่านสื่อจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล และสื่อนิทรรศการ (2) กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์โดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่เปิดรับนโยบาย วิสัยทัศน์ รองลงมาคือ เปิดรับข้อมูลด้านบริการและ ผลิตภัณฑ์ของสายงาน ข่าวความเคลื่อนไหวด้านธุรกิจพลังงานหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง (3) กลุ่มตัวอย่าง มีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายใน ในระดับปานกลาง และเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมีความ น่าเชื่อถือในระดับมากที่สุด (4) ผู้ปฏิบัติงานที่มีตำแหน่งที่แตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (5) ผู้ปฏิบัติงานที่มีเพศ อายุ และตำแหน่งที่แตกต่างกันมีการใช้ ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผู้ปฏิบัติงานที่มี อายุและตำแหน่งที่แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12025
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148143.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons