Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12030
Title: การเปิดรับสื่อการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Ubon Ratchathani citizens' exposure to media, awareness, and attitude towards the project to build a Nuclear Power Plant
Authors: ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์
พีระพล บัวทอง, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การรับรู้
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเปิดรับสื่อ (2) การรับรู้ (3) ทัศนคติ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อกับการรับรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อกับทัศนคติที่มีต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ผ่านช่องทางโทรทัศน์ มากที่สุด โดยเปิดรับเฉลี่ยเดือนละ 1-2 ครั้ง (2) กลุ่มตัวอย่างรับรู้เนื้อหาเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในระดับปานกลาง (3) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในระดับไม่แน่ใจ (4) การเปิดรับสื่อของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ (5) การเปิดรับสื่อของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12030
Appears in Collections:Comm-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130359.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons